top of page
newbg12-12.jpg

รวมบทความวิจัยที่เกี่ยวกับ

เสริมศักยภาพ
ธุรกิจท้องถิ่น

(Empowerment Local Enterprise)

foto-33.jpg

เสริมศักยภาพธุรกิจท้องถิ่น

(Empowerment Local Enterprise)

> Market Research: การศึกษาและทำความเข้าใจความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการที่มี

   มูลค่าตรงตามความต้องการมากที่สุด

> R&D (Product/Service): วิจัย และพัฒนา สินค้า/บริการให้มีคุณภาพและมูลค่าเพิ่มขึ้น เพื่อเสริมจุดแข็ง และเพิ่มขีด

   ความสามารถในการแข่งขัน

> Financial and Cost Management: การบริหารจัดการการเงิน และต้นทุนอย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ เพื่อให้

   ธุรกิจมีสุขภาพการเงินที่ดี

> Management: การบริหารจัดการธุรกิจ, การผลิต, ห่วงโซ่อุปทาน, การขนส่ง, ความเสี่ยง, ทรัพยากรมนุษย์

> Branding: สร้างแบรนด์ อัตลักษณ์ เพื่อสร้างการจดจำ, ขยายโอกาสทางตลาด และสร้างความเชื่อมั่นของลูกค้า

> Entrepreneurial capacity: การพัฒนาขีดความสามารถในการประกอบการ

บทความงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

100

Opportunities and Problems in the Local Enterprise Growth Initiative

วิเคราะห์เชิงวิพากษ์เกี่ยวกับโอกาสและอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นของโครงการ Local Enterprise Growth Initiative (LEGI) ซึ่งมีเป้าหมายในการส่งเสริมการฟื้นฟูพื้นที่ด้อยโอกาสในอังกฤษ ผ่านการสนับสนุนวิสาหกิจ และการจ้างงานท้องถิ่น ตัวโครงการมุ่งเน้นการส่งเสริมการสร้างผู้ประกอบการ, ช่วยดึงดูดนักลงทุน และพัฒนาทักษะในชุมชนที่ด้อยโอกาส นักวิจัยให้ความเห็นว่าโครงการ LEGI มีส่วนช่วยในการพัฒนาแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นโดยปรับให้เหมาะสมกับบริบท และการเน้นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานท้องถิ่น ธุรกิจ และองค์กรชุมชน บทความยังชี้ให้เห็นถึงความท้าทายที่อาจเกิดขึ้น อาทิ ประสิทธิภาพในการประสานงานระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย, ความยากลำบากในการวัดผลกระทบระยะยาว และความเสี่ยงในการย้ายกิจกรรมทางเศรษฐกิจจากพื้นที่อื่น และยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของการแก้ไขปัญหาเหล่านี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของโครงการในการกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนในพื้นที่ด้อยโอกาส

Read More

95

The quest for the entrepreneurial culture: psychological Big Data in entrepreneurship research

ศึกษาศักยภาพในการใช้ Big Data และ Artificial intelligence ในการศึกษาข้อมูลด้านวัฒนธรรม และบุคลิกภาพของผู้ประกอบการในระดับภูมิภาค นักวิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะจาก Twitter โดยเชื่อว่าวิธีการดังกล่าวสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับคุณลักษณะ, กิจกรรม และวัฒนธรรมของผู้ประกอบการในท้องถิ่นระดับภูมิภาคที่เทียบเท่ากับการศึกษาโดยการใช้แบบทดสอบบุคลิกภาพหลายล้านชุดได้ นักวิจัยยังนำเสนอการใช้ต้นแบบ machine learning ในการจัดการกับข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์ที่มีขนาดใหญ่ โดยมองว่าเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพ, ช่วยลดต้นทุน และสามารถขยายผลได้ดีกว่าการเก็บข้อมูลแบบเดิม

Read More

94

Can Tourism Promote Inclusive Growth? Supply Chains, Ownership and Employment in Ha Long Bay, Vietnam

การท่องเที่ยวจะสามารถสร้างการเติบโตแบบมีส่วนร่วมได้ในระยะสั้น และกลางหรือไม่ ในการศึกษา นักวิจัยทำการวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทาน, การเชื่อมโยง และการรั่วไหลทางเศรษฐกิจ, ความเป็นเจ้าของ, การจ้างงาน และค่าใช้จ่ายในภาคการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นภาคส่วนที่สำคัญสำหรับประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศ กรณีศึกษาในอ่าวฮาลองของประเทศเวียดนาม โดยพบว่าแม้การท่องเที่ยวจะพัฒนาอย่างรวดเร็วในพื้นที่ และให้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจบางส่วนแก่ชุมชนท้องถิ่น แต่ดูเหมือนว่าการพัฒนาดังกล่าวจะยังไม่สามารถนับว่าเกิดการเติบโตแบบมีส่วนร่วมได้ และดูเหมือนว่าจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในอนาคตอันใกล้อย่างไรก็ตามนักวิจัยได้นำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่เกี่ยวกับความท้าทาย และโอกาสในการส่งเสริมการเติบโตอย่างมีส่วนร่วมผ่านการท่องเที่ยว โดยเน้นความสำคัญของการพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ เช่น การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น, การกระจายผลประโยชน์ และความยั่งยืนในการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน

Read More

92

Innovation for Inclusive Growth: Towards a Theoretical Framework and a Research Agenda

ศึกษาแนวคิดเรื่องนวัตกรรมแบบมีส่วนร่วม (Inclusive innovation) โดยให้นิยามว่า คือ นวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ด้อยโอกาส ว่ามีผลต่อการจัดการกับความไม่เท่าเทียม และการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน, การนำไปใช้เชิงพาณิชย์ และการสร้างมูลค่าได้อย่างไร โดยนำเสนอมุมมองใหม่ที่เชื่อมโยงแนวคิดด้านนวัตกรรมเข้ากับเป้าหมายทางสังคมและเศรษฐกิจ ผ่านการเสนอกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี พร้อมทั้งมองว่าควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในด้านกลยุทธ์, การประกอบการ และการตลาด และเชื่อว่าแนวคิดดังกล่าวมีศักยภาพในการสร้างความเป็นอยู่ทางสังคม และเศรษฐกิจในชุมชนที่ดีขึ้นได้ และกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมในการวิจัยนวัตกรรมทางสังคมเพื่อส่งเสริมการเติบโตอย่างมีส่วนร่วม

Read More

89

Value chain approaches to assessing the impact of tourism on low-income households in developing countries

ศึกษาและประเมินศักยภาพของแนวคิดการท่องเที่ยวเพื่อลดความยากจน หรือ pro-poor tourism ที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นรอบๆแหล่งท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ผ่านการวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่า เพื่อดูการไหลเวียนของรายได้จากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวไปสู่ชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งรายได้ของแรงงานในธุรกิจที่พัก อย่างไรก็ตาม ยังมีการเน้นย้ำถึงความท้าทายในการเพิ่มประโยชน์เหล่านี้ให้สูงสุด และเสนอแนะกลยุทธ์ในการเพิ่มผลกระทบเชิงบวกของการพัฒนาการท่องเที่ยว บทความยังอภิปรายถึงข้อจำกัดของห่วงโซ่คุณค่า พร้อมทั้งเสนอแนะวิธีการที่ครอบคลุมมากขึ้นในการประเมินผล กระทบทางเศรษฐกิจของการท่องเที่ยวต่อชุมชน

Read More

88

What is the impact of hotels on local economic development? Applying value chain analysis to individual businesses

ศึกษาผลกระทบของธุรกิจโรงแรมที่มีต่อระบบเศรษฐกิจท้องถิ่น โดยใช้การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจโรงแรมแต่ละแห่ง อาทิ การสำรวจว่าธุรกิจโรงแรมสามารถสร้างงาน, มีการจัดหาวัตถุดิบในท้องถิ่น, การดึงดูดนักท่องเที่ยว และมีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจในชุมชนอย่างไร เพื่อให้เกิดความเข้าใจห่วงโซ่คุณค่าดังกล่าวอย่างชัดเจนว่าสามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม และเกิดการกระจายสู่ท้องถิ่นได้อย่างไร นักวิจัยจึงได้แบ่งการวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าโดยแยกย่อยไปตามกิจกรรมในการดำเนิงานในส่วนต่างๆของธุรกิจ พร้อมทั้งวัดผลกระทบทางเศรษฐกิจของโรงแรม และระบุวิธีการเพิ่มการมีส่วนร่วมเชิงบวกต่อการพัฒนาท้องถิ่นให้มากที่สุด นอกจากนี้ ยังมีการวิเคราะห์ว่าโรงแรมสามารถเพิ่มการจ้างงาน, สร้างการสนับสนุนธุรกิจท้องถิ่น และส่งเสริมการพัฒนาทักษะได้อย่างไร

Read More

87

Local tourism value chain linkages as pro-poor tools for regional development in western Uganda

ศึกษาบทบาทของการเชื่อมโยงห่วงโซ่คุณค่าการท่องเที่ยวท้องถิ่นในฐานะเครื่องมือสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาคและการลดความยากจนในภาคตะวันตกของยูกันดา โดยให้ข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณค่าสำหรับผู้กำหนดนโยบายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยมุ่งเน้นที่การเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานและความร่วมมือระหว่างชุมชน และธุรกิจท่องเที่ยว ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าลูกค้าในกลุ่มธุรกิจมีแนวโน้มที่จะรับสินค้าจากซัพพลายเออร์/คนกลาง มากกว่าผู้ผลิตท้องถิ่น เนื่องด้วยปัญหาด้านคุณภาพของสินค้าท้องถิ่นที่ไม่ได้มาตรฐาน และขาดความสม่ำเสมอ ซึ่งส่งผลต่อการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า และลดโอกาสทางการตลาด การศึกษานี้ยังเน้นย้ำถึงความท้าทายในการเชื่อมโยงระดับท้องถิ่นในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่มีประสิทธิภาพ และเสนอแนะว่าควรปรับปรุงความสม่ำเสมอและคุณภาพของสินค้าท้องถิ่น ซึ่งอาจช่วยเพิ่มโอกาสในการพัฒนาภูมิภาคผ่านความเชื่อมโยงที่แข็งแกร่งขึ้นระหว่างธุรกิจท่องเที่ยวและผู้ผลิตท้องถิ่น

Read More

86

Sustainable innovation, business models and economic performance: an overview

ศึกษาวิธีการผสมผสานนวัตกรรมเข้ากับโมเดลธุรกิจแบบยั่งยืนเพื่อความสำเร็จทางเศรษฐศาสตร์ ผ่านการมองภาพรวมของนวัตกรรม, โมเดลธุรกิจ และประสิทธิภาพเชิงเศรษฐศาสตร์ ในขณะเดียวกันยังมองถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม นักวิจัยได้ทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโมเดลธุรกิจแบบยั่งยืน, กระบวนการนวัตกรรม และตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการสร้างระบบในการพิจารณาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีอยู่หลายฝ่าย และการสร้างคุณค่าในมิติเชิงเศรษฐศาสตร์, สิ่งแวดล้อม และสังคม ทั้งยังกล่าวถึงความสำคัญในการวิจัยพร้อมทั้งเสนอแนวทางสำหรับการพัฒนาความเข้าใจในต้นแบบนวัตกรรมธุรกิจแบบยั่งยืน, ผลกระทบต่อผลการดำเนินงานขององค์กร และผลลัพธ์ด้านความยั่งยืน รวมไปถึงความท้าทายในการนำแนวคิดนี้ไปปฏิบัติ และเสนอแนะแนวทางสำหรับการวิจัยในอนาคตเพื่อขยายองค์ความรู้ในด้านนี้ต่อไป

Read More

85

Integrated business model for sustainability of small and medium-sized enterprises in the food industry : Creating value added through ecodesign

นำเสนอโมเดลธุรกิจแบบบูรณาการเพื่อความยั่งยืนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในภาคอุตสาหกรรมอาหาร โดยใช้แนวคิดการออกแบบเชิงนิเวศ (ecodesign) โดยรวมการออกแบบเชิงนิเวศทั้งในด้านอุตสาหกรรม และการปรับใช้ให้เข้ากับบริบท และเศรษฐกิจสังคมของกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งสะท้อนผ่านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR) และการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผ่าน การบูรณาการเครื่องมือด้านสิ่งแวดล้อม, สังคม และเศรษฐกิจ อาทิ การประเมินวงจรชีวิต, เมทริกซ์ MET และการติดฉลากสิ่งแวดล้อม นักวิจัยมองว่าแนวทางดังกล่าวมีส่วนช่วยให้สามารถปรับปรุงทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมและโครงสร้างต้นทุนได้พร้อมกัน นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพ, ฟังก์ชันการใช้งาน และความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ ทั้งยังมีส่วนช่วยในการสร้างมูลค่าเพิ่มในมิติที่หลากหลายให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบนอกจากนี้ ยังระบุแนวทางปฏิบัติสำหรับ SMEs ในการปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจและการผลิตเชิงนิเวศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรและฟังก์ชันของผลิตภัณฑ์ไปพร้อมกัน

Read More

84

Business Ecosystems as the Approach to Create Value and Appropriate Value for Small Firms in Emerging Markets

ศึกษาว่าระบบนิเวศทางธุรกิจสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการประกอบการขนาดเล็กในตลาดเกิดใหม่ได้อย่างไร โดยมองว่าประเด็นหลักที่ส่งผลมากที่สุดคือ การใช้ทรัพยากรร่วมกัน ผ่านการศึกษาตัวอย่างการ ใช้ระบบนิเวศทางธุรกิจในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารขนาดเล็กของแทนซาเนีย เพื่อเอาชนะข้อจำกัดด้านทรัพยากร และการสร้างมูลค่าเพิ่ม งานวิจัยยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของการทำงานร่วมกัน, การแบ่งปันทรัพยากร และผลกระทบของเครือข่ายในการช่วยให้การประกอบการขนาดเล็กสามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการที่ระบบนิเวศทางธุรกิจสามารถสนับสนุนการเติบโตและการพัฒนาของธุรกิจขนาดเล็กในบริบทของตลาดเกิดใหม่

Read More

81

Business ecosystems: a structure to commercialize value chain of rural economies in developing areas

นำเสนอต้นแบบระบบนิเวศทางธุรกิจ 2 รูปแบบในอุตสาหกรรมผลิตน้ำผึ้ง ได้แก่ รูปแบบที่ยึดการประกอบการเป็นศูนย์กลาง ซึ่งจะเน้นไปที่การให้บริษัทเป็นผู้นำในการประสานงานกิจกรรมต่างๆ และรูปแบบที่มีชุมชนเป็นศูนย์กลาง ที่เน้นความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่หลากหลาย ต้นแบบระบบนิเวศทางธุรกิจเหล่านี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ไขปัญหาที่เศรษฐกิจที่ชนบทกำลังเผชิญอยู่ อาทิ การเข้าถึงตลาด, ทรัพยากร และเทคโนโลยีที่จำกัด โดยการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรท้องถิ่นและการส่งเสริมด้านความร่วมมือ ผู้วิจัยเชื่อว่าต้นแบบเหล่านี้มีศักยภาพในการเพิ่มการพัฒนาชนบท ปรับปรุงการเข้าถึงตลาด และเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจสำหรับผู้ผลิตรายย่อยและการประกอบการในภูมิภาคที่กำลังพัฒนาได้ บทความนี้ยังอภิปรายถึงความสำคัญของการพัฒนาทักษะผู้ประกอบการ, การเข้าถึงบริการทางการเงินและธุรกิจ และการสนับสนุนนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงผลิตภาพในพื้นที่ชนบท นอกจากนี้ยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของการสร้างความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ ในห่วงโซ่คุณค่าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างผลประโยชน์ร่วมกัน

Read More

79

The Contribution of Micro-enterprises to Economic Recovery and Poverty Alleviation in East Asia

วิเคราะห์ศักยภาพของวิสาหกิจขนาดย่อม และการเงินระดับจุลภาคในการพัฒนาภูมิภาค, การสร้างรายได้, การจ้างงาน, ความหลากหลาย, ข้อจำกัดในการเติบโตฟื้นฟูเศรษฐกิจ และบรรเทาความยากจนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกหลังวิกฤตปี 2540 โดยอภิปรายแนวทางการส่งเสริมทั้งแบบยังชีพ และแบบมุ่งเน้นการเติบโต และพูดถึงการยอมรับที่เพิ่มขึ้นว่าการเงินระดับจุลภาคมีส่วนช่วยในการลดความยากจนและการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ บทความยังอภิปรายถึงความท้าทายที่วิสาหกิจขนาดย่อมต้องเผชิญ เช่น การเข้าถึงแหล่งเงินทุน, เทคโนโลยี และการตลาด รวมถึงนโยบายและกลยุทธ์ที่จำเป็นในการสนับสนุนการพัฒนาของธุรกิจเหล่านี้ เพื่อเสริมสร้างบทบาทของพวกเขาในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและการลดความยากจนในเอเชียตะวันออก

Read More
bottom of page