top of page
newbg7-07.jpg

เกื้อกูลความรู้

รวมข้อมูล ทฤษฎี เครื่องมือ กรณีศึกษา งานวิจัย
เศรษฐกิจชุมชน ครอบคลุม การเสริมสร้างศักยภาพ
ธุรกิจชุมชน วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ความยั่งยืน
ด้านสิ่งแวดล้อม การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน เครือข่ายความร่วมมือ การบูรณาการร่วมกับสังคม นวัตกรรม
และการประยุกต์ใช้  

หมวดหมู่บทความงานวิจัยที่น่าสนใจ

foto-33.jpg

Empowerment Local Enterprise

เสริมศักยภาพธุรกิจท้องถิ่น

> Market Research: การศึกษาและทำความเข้าใจความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการที่มีมูลค่าตรงตามความต้องการมากที่สุด
> R&D (Product/Service): วิจัย และพัฒนา สินค้า/บริการให้มีคุณภาพและมูลค่าเพิ่มขึ้น เพื่อเสริมจุดแข็ง และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
> Financial and Cost Management: การบริหารจัดการการเงิน และต้นทุนอย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ธุรกิจมีสุขภาพการเงินที่ดี
> Management: การบริหารจัดการธุรกิจ, การผลิต, ห่วงโซ่อุปทาน, การขนส่ง, ความเสี่ยง, ทรัพยากรมนุษย์
> Branding: สร้างแบรนด์ อัตลักษณ์ เพื่อสร้างการจดจำ, ขยายโอกาสทางตลาด และสร้างความเชื่อมั่นของลูกค้า
> Entrepreneurial capacity: การพัฒนาขีดความสามารถในการประกอบการ

foto-38.jpg

Local Economic Development

การพัฒนาเศษฐกิจท้องถิ่น

> Job Creation: สร้างโอกาสการทำงาน/งานใหม่ๆ ภายในท้องถิ่น
>Local supply chains: ส่งเสริมการใช้วัตถุดิบ, สินค้าและบริการในพื้นที่ สร้างการหมุนเวียนเศษฐกิจภายในท้องถิ่น
> improve live standard: การยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กับคนในท้องถิ่น

foto-31.jpg

Collaboration

ความร่วมมือ

> Job Creation: สร้างโอกาสการทำงาน/งานใหม่ๆ ภายในท้องถิ่น
Local supply chains: ส่งเสริมการใช้วัตถุดิบ, สินค้าและบริการในพื้นที่ สร้างการหมุนเวียนเศษฐกิจภายในท้องถิ่น
improve live standard: การยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กับคนในท้องถิ่น

foto-35.jpg

Social Integrated

ความรับผิดชอบต่อสังคม

> support local community activity (sharing): สนับสนุนกลุ่มคน/กิจการ/กิจกรรมภายในท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาร่วมกัน อาทิ การให้แบ่งปันความรู้ และทรัพยากรท้องถิ่น กลุ่มเปราะบาง
enchanting social well-being: การเสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดีของท้องถิ่น เสริมความเข้มแข็ง ความสามัคคี และลดความเหลื่อมล้ำภายในท้องถิ่น

foto-36.jpg

Environmental Sustainability

ความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม

> Circular Economy: การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ลดปริมาณ และสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือใช้
Eco-friendly product and service: การสร้างสรรค์สินค้าและบริการที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

foto-32.jpg

Cultural and Local wisdom

วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

> Cultural diversity: การศึกษา เข้าใจ ส่งเสริม และยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมภายในชุมชน
Local wisdom and identity: การสืบสาน, ส่งเสริม, อนุรักษ์ ภูมิปัญญา และอัตลักษณ์ของท้องถิ่น

foto-37.jpg

Innovation and Adoption

นวัตกรรมและการปรับใช้

> Local Innovation: การสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการของชุมชน และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่
> Technology adoption: การรับ/ปรับใช้เทคโนโลยี: การปรับตัวและนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาธุรกิจท้องถิ่นอย่างเหมาะสม

เลือกค้นหาบทความงานวิจัยจากหมวดหมู่

ค้นหาจาก Category
ค้นหาจาก Resource Type

บทความงานวิจัยทั้งหมด

90

Inclusive Growth in cities: a sympathetic critique

วิเคราะห์แนวคิด "การเติบโตอย่างมีส่วนร่วม" (Inclusive Growth) ในบริบทของเมืองอย่างละเอียด แม้ว่าผู้เขียนจะยอมรับถึงความสำคัญของแนวคิดนี้ในการเชื่อมโยงการพัฒนาเศรษฐกิจกับการกระจายผลประโยชน์ แต่ได้มีการตั้งข้อสังเกตว่าการเติบโตอย่างมีส่วนร่วมยังคงเป็นแนวคิดที่คลุมเครือ มักถูกนิยามอย่างไม่ชัดเจน และนำไปใช้อย่างไม่สม่ำเสมอ บทความยังชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมั่นที่มากเกินไปในความสามารถของรัฐบาลท้องถิ่นในการกระตุ้นและกำหนดรูปแบบการเติบโต รวมถึงกรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จก็ยังมีไม่มากพอ ผู้เขียนได้ให้ความเห็นว่าการเติบโตอย่างมีส่วนร่วมเป็นการพัฒนาที่ดีกว่าการมุ่งเน้นเฉพาะการเติบโตเพียงอย่างเดียว และเน้นย้ำถึงความจำเป็นของการมีส่วนร่วมจากรัฐบาล

89

Value chain approaches to assessing the impact of tourism on low-income households in developing countries

ศึกษาและประเมินศักยภาพของแนวคิดการท่องเที่ยวเพื่อลดความยากจน หรือ pro-poor tourism ที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นรอบๆแหล่งท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ผ่านการวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่า เพื่อดูการไหลเวียนของรายได้จากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวไปสู่ชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งรายได้ของแรงงานในธุรกิจที่พัก อย่างไรก็ตาม ยังมีการเน้นย้ำถึงความท้าทายในการเพิ่มประโยชน์เหล่านี้ให้สูงสุด และเสนอแนะกลยุทธ์ในการเพิ่มผลกระทบเชิงบวกของการพัฒนาการท่องเที่ยว บทความยังอภิปรายถึงข้อจำกัดของห่วงโซ่คุณค่า พร้อมทั้งเสนอแนะวิธีการที่ครอบคลุมมากขึ้นในการประเมินผล กระทบทางเศรษฐกิจของการท่องเที่ยวต่อชุมชน

88

What is the impact of hotels on local economic development? Applying value chain analysis to individual businesses

ศึกษาผลกระทบของธุรกิจโรงแรมที่มีต่อระบบเศรษฐกิจท้องถิ่น โดยใช้การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจโรงแรมแต่ละแห่ง อาทิ การสำรวจว่าธุรกิจโรงแรมสามารถสร้างงาน, มีการจัดหาวัตถุดิบในท้องถิ่น, การดึงดูดนักท่องเที่ยว และมีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจในชุมชนอย่างไร เพื่อให้เกิดความเข้าใจห่วงโซ่คุณค่าดังกล่าวอย่างชัดเจนว่าสามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม และเกิดการกระจายสู่ท้องถิ่นได้อย่างไร นักวิจัยจึงได้แบ่งการวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าโดยแยกย่อยไปตามกิจกรรมในการดำเนิงานในส่วนต่างๆของธุรกิจ พร้อมทั้งวัดผลกระทบทางเศรษฐกิจของโรงแรม และระบุวิธีการเพิ่มการมีส่วนร่วมเชิงบวกต่อการพัฒนาท้องถิ่นให้มากที่สุด นอกจากนี้ ยังมีการวิเคราะห์ว่าโรงแรมสามารถเพิ่มการจ้างงาน, สร้างการสนับสนุนธุรกิจท้องถิ่น และส่งเสริมการพัฒนาทักษะได้อย่างไร

87

Local tourism value chain linkages as pro-poor tools for regional development in western Uganda

ศึกษาบทบาทของการเชื่อมโยงห่วงโซ่คุณค่าการท่องเที่ยวท้องถิ่นในฐานะเครื่องมือสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาคและการลดความยากจนในภาคตะวันตกของยูกันดา โดยให้ข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณค่าสำหรับผู้กำหนดนโยบายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยมุ่งเน้นที่การเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานและความร่วมมือระหว่างชุมชน และธุรกิจท่องเที่ยว ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าลูกค้าในกลุ่มธุรกิจมีแนวโน้มที่จะรับสินค้าจากซัพพลายเออร์/คนกลาง มากกว่าผู้ผลิตท้องถิ่น เนื่องด้วยปัญหาด้านคุณภาพของสินค้าท้องถิ่นที่ไม่ได้มาตรฐาน และขาดความสม่ำเสมอ ซึ่งส่งผลต่อการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า และลดโอกาสทางการตลาด การศึกษานี้ยังเน้นย้ำถึงความท้าทายในการเชื่อมโยงระดับท้องถิ่นในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่มีประสิทธิภาพ และเสนอแนะว่าควรปรับปรุงความสม่ำเสมอและคุณภาพของสินค้าท้องถิ่น ซึ่งอาจช่วยเพิ่มโอกาสในการพัฒนาภูมิภาคผ่านความเชื่อมโยงที่แข็งแกร่งขึ้นระหว่างธุรกิจท่องเที่ยวและผู้ผลิตท้องถิ่น

86

Sustainable innovation, business models and economic performance: an overview

ศึกษาวิธีการผสมผสานนวัตกรรมเข้ากับโมเดลธุรกิจแบบยั่งยืนเพื่อความสำเร็จทางเศรษฐศาสตร์ ผ่านการมองภาพรวมของนวัตกรรม, โมเดลธุรกิจ และประสิทธิภาพเชิงเศรษฐศาสตร์ ในขณะเดียวกันยังมองถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม นักวิจัยได้ทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโมเดลธุรกิจแบบยั่งยืน, กระบวนการนวัตกรรม และตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการสร้างระบบในการพิจารณาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีอยู่หลายฝ่าย และการสร้างคุณค่าในมิติเชิงเศรษฐศาสตร์, สิ่งแวดล้อม และสังคม ทั้งยังกล่าวถึงความสำคัญในการวิจัยพร้อมทั้งเสนอแนวทางสำหรับการพัฒนาความเข้าใจในต้นแบบนวัตกรรมธุรกิจแบบยั่งยืน, ผลกระทบต่อผลการดำเนินงานขององค์กร และผลลัพธ์ด้านความยั่งยืน รวมไปถึงความท้าทายในการนำแนวคิดนี้ไปปฏิบัติ และเสนอแนะแนวทางสำหรับการวิจัยในอนาคตเพื่อขยายองค์ความรู้ในด้านนี้ต่อไป

85

Integrated business model for sustainability of small and medium-sized enterprises in the food industry : Creating value added through ecodesign

นำเสนอโมเดลธุรกิจแบบบูรณาการเพื่อความยั่งยืนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในภาคอุตสาหกรรมอาหาร โดยใช้แนวคิดการออกแบบเชิงนิเวศ (ecodesign) โดยรวมการออกแบบเชิงนิเวศทั้งในด้านอุตสาหกรรม และการปรับใช้ให้เข้ากับบริบท และเศรษฐกิจสังคมของกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งสะท้อนผ่านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR) และการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผ่าน การบูรณาการเครื่องมือด้านสิ่งแวดล้อม, สังคม และเศรษฐกิจ อาทิ การประเมินวงจรชีวิต, เมทริกซ์ MET และการติดฉลากสิ่งแวดล้อม นักวิจัยมองว่าแนวทางดังกล่าวมีส่วนช่วยให้สามารถปรับปรุงทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมและโครงสร้างต้นทุนได้พร้อมกัน นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพ, ฟังก์ชันการใช้งาน และความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ ทั้งยังมีส่วนช่วยในการสร้างมูลค่าเพิ่มในมิติที่หลากหลายให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบนอกจากนี้ ยังระบุแนวทางปฏิบัติสำหรับ SMEs ในการปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจและการผลิตเชิงนิเวศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรและฟังก์ชันของผลิตภัณฑ์ไปพร้อมกัน

84

Business Ecosystems as the Approach to Create Value and Appropriate Value for Small Firms in Emerging Markets

ศึกษาว่าระบบนิเวศทางธุรกิจสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการประกอบการขนาดเล็กในตลาดเกิดใหม่ได้อย่างไร โดยมองว่าประเด็นหลักที่ส่งผลมากที่สุดคือ การใช้ทรัพยากรร่วมกัน ผ่านการศึกษาตัวอย่างการ ใช้ระบบนิเวศทางธุรกิจในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารขนาดเล็กของแทนซาเนีย เพื่อเอาชนะข้อจำกัดด้านทรัพยากร และการสร้างมูลค่าเพิ่ม งานวิจัยยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของการทำงานร่วมกัน, การแบ่งปันทรัพยากร และผลกระทบของเครือข่ายในการช่วยให้การประกอบการขนาดเล็กสามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการที่ระบบนิเวศทางธุรกิจสามารถสนับสนุนการเติบโตและการพัฒนาของธุรกิจขนาดเล็กในบริบทของตลาดเกิดใหม่

83

Ecosystem management: Past achievements and future promises

ศึกษาวิวัฒนาการของการจัดการระบบนิเวศในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา โดยเน้นถึงมุมมองด้านความสำเร็จและศักยภาพในอนาคต ในการศึกษาได้ทำการวิเคราะห์การพัฒนาแนวคิด, ความท้าทายในการนำไปปฏิบัติ และตัวอย่างความสำเร็จในหลากหลายภาคส่วน รวมทั้งยังอธิบายว่าการจัดการระบบนิเวศมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างไร นอกจากนี้ บทความยังสำรวจแนวโน้มและโอกาสที่อาจเกิดขึ้นใหม่สำหรับการจัดการระบบนิเวศ รวมถึงการบูรณาการเทคโนโลยี และบทบาทในการจัดการกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมระดับโลก โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญในความพยายามด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ, การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม, การพัฒนาที่ยั่งยืน และการอนุรักษ์อย่างต่อเนื่อง

82

A review of the ecosystem concept — Towards coherent ecosystem design

แนวคิดเรื่องระบบนิเวศ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำความเข้าใจคำจำกัดความ และเสนอแนะการออกแบบระบบนิเวศที่สอดคล้องกันสำหรับการวิจัยในอนาคต ผ่านการวิเคราะห์บทความ และทำการแบ่งรูปแบบของระบบนิเวศออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ระบบนิเวศทางธุรกิจ, นวัตกรรม, แพลตฟอร์ม และการประกอบการ พวกเขาเน้นย้ำถึงต้นกำเนิดของแนวคิดในนิเวศวิทยาและวิวัฒนาการในด้านการจัดการ จากการศึกษาพบว่าคำจำกัดความของระบบนิเวศยังมีส่วนที่การขาดความสอดคล้องระหว่างกันอยู่ ด้วยเหตุนี้นักวิจัยจึงได้นำเสนอคำจำกัดความที่เป็นเอกภาพของระบบนิเวศ โดยมองว่าเป็นเครือข่ายของผู้มีส่วนร่วมที่พึ่งพาอาศัยกัน โดยมีทรัพยากร, ความสามารถ และเทคโนโลยีที่เสริมกัน รวมถึงการมีส่วนร่วมของผู้มีบทบาทหลักเพื่อร่วมกันสร้างคุณค่าของระบบนิเวศ รวมถึงขอบเขต และบทบาทของผู้มีส่วนร่วม, พลวัตของวิวัฒนาการ เพื่อพัฒนาความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ซับซ้อนและเชื่อมโยงกัน

81

Business ecosystems: a structure to commercialize value chain of rural economies in developing areas

นำเสนอต้นแบบระบบนิเวศทางธุรกิจ 2 รูปแบบในอุตสาหกรรมผลิตน้ำผึ้ง ได้แก่ รูปแบบที่ยึดการประกอบการเป็นศูนย์กลาง ซึ่งจะเน้นไปที่การให้บริษัทเป็นผู้นำในการประสานงานกิจกรรมต่างๆ และรูปแบบที่มีชุมชนเป็นศูนย์กลาง ที่เน้นความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่หลากหลาย ต้นแบบระบบนิเวศทางธุรกิจเหล่านี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ไขปัญหาที่เศรษฐกิจที่ชนบทกำลังเผชิญอยู่ อาทิ การเข้าถึงตลาด, ทรัพยากร และเทคโนโลยีที่จำกัด โดยการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรท้องถิ่นและการส่งเสริมด้านความร่วมมือ ผู้วิจัยเชื่อว่าต้นแบบเหล่านี้มีศักยภาพในการเพิ่มการพัฒนาชนบท ปรับปรุงการเข้าถึงตลาด และเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจสำหรับผู้ผลิตรายย่อยและการประกอบการในภูมิภาคที่กำลังพัฒนาได้ บทความนี้ยังอภิปรายถึงความสำคัญของการพัฒนาทักษะผู้ประกอบการ, การเข้าถึงบริการทางการเงินและธุรกิจ และการสนับสนุนนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงผลิตภาพในพื้นที่ชนบท นอกจากนี้ยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของการสร้างความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ ในห่วงโซ่คุณค่าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างผลประโยชน์ร่วมกัน

ติดต่อ สถาบันเกื้อกูลเศรษฐกิจชุมชน

ส่งข้อความสำเร็จ...

© 2020 สถาบันเกื้อกูลเศรษฐกิจชุมชน
Institute for Local Economy Foundation

59/1 ม.3 ตำบลดอนขมิ้น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี 71120
Tel: 09 5962 9189 E-mail: admin@kueakun.com

bottom of page