top of page
newbg7-07.jpg

เกื้อกูลความรู้

รวมข้อมูล ทฤษฎี เครื่องมือ กรณีศึกษา งานวิจัย
เศรษฐกิจชุมชน ครอบคลุม การเสริมสร้างศักยภาพ
ธุรกิจชุมชน วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ความยั่งยืน
ด้านสิ่งแวดล้อม การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน เครือข่ายความร่วมมือ การบูรณาการร่วมกับสังคม นวัตกรรม
และการประยุกต์ใช้  

หมวดหมู่บทความงานวิจัยที่น่าสนใจ

foto-33.jpg

Empowerment Local Enterprise

เสริมศักยภาพธุรกิจท้องถิ่น

> Market Research: การศึกษาและทำความเข้าใจความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการที่มีมูลค่าตรงตามความต้องการมากที่สุด
> R&D (Product/Service): วิจัย และพัฒนา สินค้า/บริการให้มีคุณภาพและมูลค่าเพิ่มขึ้น เพื่อเสริมจุดแข็ง และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
> Financial and Cost Management: การบริหารจัดการการเงิน และต้นทุนอย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ธุรกิจมีสุขภาพการเงินที่ดี
> Management: การบริหารจัดการธุรกิจ, การผลิต, ห่วงโซ่อุปทาน, การขนส่ง, ความเสี่ยง, ทรัพยากรมนุษย์
> Branding: สร้างแบรนด์ อัตลักษณ์ เพื่อสร้างการจดจำ, ขยายโอกาสทางตลาด และสร้างความเชื่อมั่นของลูกค้า
> Entrepreneurial capacity: การพัฒนาขีดความสามารถในการประกอบการ

foto-38.jpg

Local Economic Development

การพัฒนาเศษฐกิจท้องถิ่น

> Job Creation: สร้างโอกาสการทำงาน/งานใหม่ๆ ภายในท้องถิ่น
>Local supply chains: ส่งเสริมการใช้วัตถุดิบ, สินค้าและบริการในพื้นที่ สร้างการหมุนเวียนเศษฐกิจภายในท้องถิ่น
> improve live standard: การยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กับคนในท้องถิ่น

foto-31.jpg

Collaboration

ความร่วมมือ

> Job Creation: สร้างโอกาสการทำงาน/งานใหม่ๆ ภายในท้องถิ่น
Local supply chains: ส่งเสริมการใช้วัตถุดิบ, สินค้าและบริการในพื้นที่ สร้างการหมุนเวียนเศษฐกิจภายในท้องถิ่น
improve live standard: การยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กับคนในท้องถิ่น

foto-35.jpg

Social Integrated

ความรับผิดชอบต่อสังคม

> support local community activity (sharing): สนับสนุนกลุ่มคน/กิจการ/กิจกรรมภายในท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาร่วมกัน อาทิ การให้แบ่งปันความรู้ และทรัพยากรท้องถิ่น กลุ่มเปราะบาง
enchanting social well-being: การเสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดีของท้องถิ่น เสริมความเข้มแข็ง ความสามัคคี และลดความเหลื่อมล้ำภายในท้องถิ่น

foto-36.jpg

Environmental Sustainability

ความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม

> Circular Economy: การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ลดปริมาณ และสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือใช้
Eco-friendly product and service: การสร้างสรรค์สินค้าและบริการที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

foto-32.jpg

Cultural and Local wisdom

วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

> Cultural diversity: การศึกษา เข้าใจ ส่งเสริม และยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมภายในชุมชน
Local wisdom and identity: การสืบสาน, ส่งเสริม, อนุรักษ์ ภูมิปัญญา และอัตลักษณ์ของท้องถิ่น

foto-37.jpg

Innovation and Adoption

นวัตกรรมและการปรับใช้

> Local Innovation: การสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการของชุมชน และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่
> Technology adoption: การรับ/ปรับใช้เทคโนโลยี: การปรับตัวและนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาธุรกิจท้องถิ่นอย่างเหมาะสม

เลือกค้นหาบทความงานวิจัยจากหมวดหมู่

ค้นหาจาก Category
ค้นหาจาก Resource Type

บทความงานวิจัยทั้งหมด

100

Opportunities and Problems in the Local Enterprise Growth Initiative

วิเคราะห์เชิงวิพากษ์เกี่ยวกับโอกาสและอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นของโครงการ Local Enterprise Growth Initiative (LEGI) ซึ่งมีเป้าหมายในการส่งเสริมการฟื้นฟูพื้นที่ด้อยโอกาสในอังกฤษ ผ่านการสนับสนุนวิสาหกิจ และการจ้างงานท้องถิ่น ตัวโครงการมุ่งเน้นการส่งเสริมการสร้างผู้ประกอบการ, ช่วยดึงดูดนักลงทุน และพัฒนาทักษะในชุมชนที่ด้อยโอกาส นักวิจัยให้ความเห็นว่าโครงการ LEGI มีส่วนช่วยในการพัฒนาแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นโดยปรับให้เหมาะสมกับบริบท และการเน้นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานท้องถิ่น ธุรกิจ และองค์กรชุมชน บทความยังชี้ให้เห็นถึงความท้าทายที่อาจเกิดขึ้น อาทิ ประสิทธิภาพในการประสานงานระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย, ความยากลำบากในการวัดผลกระทบระยะยาว และความเสี่ยงในการย้ายกิจกรรมทางเศรษฐกิจจากพื้นที่อื่น และยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของการแก้ไขปัญหาเหล่านี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของโครงการในการกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนในพื้นที่ด้อยโอกาส

99

Strategies for regenerative business

แนวคิดเรื่อง “regenerative business” โดยนักวิจัยเชื่อว่าแนวคิดดังกล่าวมีความสำคัญต่อการสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจ นักวิจัยให้เหตุผลว่าแนวคิดดังกล่าวสามารถช่วยลดของด้อยของการทำธุรกิจแบบเดิมซึ่งมักมองข้ามระบบนิเวศวิทยาสังคมนำไปสู่ความเสื่อมโทรมทางนิเวศวิทยา และความท้าทายทางสังคมได้ แนวคิดดังกล่าวเป็นการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมกับระบบนิเวศวิทยาสังคมทั้ง “การฟื้นฟู-รักษา-เสริมสร้าง” โดยอยู่บนพื้นฐานของหลักการสำคัญ 2 ประการ ได้แก่ ระบบที่ขึ้นกับระดับของความปรารถนา และแนวทางการจัดการการปรับเปลี่ยนเพื่อการฟื้นฟูแนวคิดนี้เป็นแนวคิดใหม่เพื่อสร้างพื้นฐานความยั่งยืนทางธุรกิจ ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจสามารถก้าวไปไกลกว่าเดิม และช่วยลดความเสียหายต่อระบบนิเวศวิทยาสังคม

98

The role, organisation and contribution of community enterprise to urban regeneration policy in the UK

ศึกษาบทบาทขององค์กรวิสาหกิจชุมชนที่ก่อตั้งขึ้นภายในชุมชนท้องถิ่น ในการมีส่วนร่วมในกลยุทธ์การฟื้นฟู, การพัฒนาชุมชน, การสร้างทุนทางสังคม และการส่งเสริมประชาสังคมในประเทศอังกฤษ และเวลส์ สหราชอาณาจักร พร้อมทั้งทำการศึกษาเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆร่วมด้วย โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้นักวิจัยยังได้พยายามหาคำตอบของประเด็นคำถามที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการองค์กรดังกล่าว ในมิติของขอบเขตการมีส่วนร่วมในกลยุทธ์การฟื้นฟูท้องถิ่น และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น, ความหลากหลายของผู้มีส่วนร่วม, ระดับของผลปะรโยชน์ที่ได้รับ โดยเฉพาะการได้มา และการจัดการสินทรัพย์

97

Business research for sustainable development: How does sustainable business model research reflect doughnut economics?

ศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างต้นแบบ “ธุรกิจแบบยั่งยืน (SBM)” และทฤษฎี “เศรษฐศาสตร์โดนัท (DE)” เพื่อขยาย และบูรณาการองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาต้นแบบธุรกิจแบบยั่งยืนร่วมกับการนำหลักการของเศรษฐศาสตร์โดนัทไปใช้ในบริบทของธุรกิจ นักวิจัยเลือกใช้หลักการทั้ง 7 ของ DE ในการวิเคราะห์เพื่อสะท้อนต้นแบบธุรกิจจำนวน 23 ต้นแบบ เพื่อพัฒนากรอบแนวคิดโดยอิงพื้นฐานองค์ความรู้วิทยาศาสตร์เชิง cognitive โดยแบ่งย่อยการศึกษาออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1. การศึกษากรอบแนวคิดเพื่อช่วยเพิ่มความเข้าใจในทฤษฎีทั้งแนวคิด SBM และ DE 2. การศึกษาแนวทางเฉพาะในการศึกษาต้นแบบ SBM จำนวน 7 แบบ 3. ศึกษาศักยภาพในการสร้างแนวปฏิบัติเชิงนวัตกรรมของ SBM

96

The Inheritance of Local Wisdom Value as an Effort of Environmental Preservation of Telaga Mangunan

ศึกษาบทบาทของการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในฐานะเครื่องมือในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในบริบทของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และสิ่งแวดล้อมที่รวดเร็ว กรณีศึกษาพื้นที่เทลากา มังกูนัน ประเทศอินโดนีเซีย นักวิจัยเลือก “พิธีนยาดรัน” ซึ่งเป็นพิธีดั้งเดิมในพื้นที่เป็นกรณีศึกษา ใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพผ่านวิธีการถ่ายทอดแนวปฏิบัติดังกล่าวจากรุ่นสู่รุ่นเพื่อส่งเสริมการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม พวกเขาพบว่าแนวทางดังกล่าวถูกรักษา และส่งต่อผ่านการขัดเกลาทางสังคมทั้ง ครอบครัว, การมีส่วนร่วมของชุมชน และสื่อต่างๆ ประเพณีดังกล่าวยังสะท้อนคุณค่าของการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน, การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม, การแลกเปลี่ยนข้อมูล และการเคารพสิ่งแวดล้อมในเชิงการรักษาความรู้ทางนิเวศวิทยาท้องถิ่น การศึกษานี้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการบูรณาการความรู้ท้องถิ่นเข้ากับนโยบายการจัดการสิ่งแวดล้อมสมัยใหม่

95

The quest for the entrepreneurial culture: psychological Big Data in entrepreneurship research

ศึกษาศักยภาพในการใช้ Big Data และ Artificial intelligence ในการศึกษาข้อมูลด้านวัฒนธรรม และบุคลิกภาพของผู้ประกอบการในระดับภูมิภาค นักวิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะจาก Twitter โดยเชื่อว่าวิธีการดังกล่าวสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับคุณลักษณะ, กิจกรรม และวัฒนธรรมของผู้ประกอบการในท้องถิ่นระดับภูมิภาคที่เทียบเท่ากับการศึกษาโดยการใช้แบบทดสอบบุคลิกภาพหลายล้านชุดได้ นักวิจัยยังนำเสนอการใช้ต้นแบบ machine learning ในการจัดการกับข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์ที่มีขนาดใหญ่ โดยมองว่าเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพ, ช่วยลดต้นทุน และสามารถขยายผลได้ดีกว่าการเก็บข้อมูลแบบเดิม

94

Can Tourism Promote Inclusive Growth? Supply Chains, Ownership and Employment in Ha Long Bay, Vietnam

การท่องเที่ยวจะสามารถสร้างการเติบโตแบบมีส่วนร่วมได้ในระยะสั้น และกลางหรือไม่ ในการศึกษา นักวิจัยทำการวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทาน, การเชื่อมโยง และการรั่วไหลทางเศรษฐกิจ, ความเป็นเจ้าของ, การจ้างงาน และค่าใช้จ่ายในภาคการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นภาคส่วนที่สำคัญสำหรับประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศ กรณีศึกษาในอ่าวฮาลองของประเทศเวียดนาม โดยพบว่าแม้การท่องเที่ยวจะพัฒนาอย่างรวดเร็วในพื้นที่ และให้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจบางส่วนแก่ชุมชนท้องถิ่น แต่ดูเหมือนว่าการพัฒนาดังกล่าวจะยังไม่สามารถนับว่าเกิดการเติบโตแบบมีส่วนร่วมได้ และดูเหมือนว่าจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในอนาคตอันใกล้อย่างไรก็ตามนักวิจัยได้นำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่เกี่ยวกับความท้าทาย และโอกาสในการส่งเสริมการเติบโตอย่างมีส่วนร่วมผ่านการท่องเที่ยว โดยเน้นความสำคัญของการพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ เช่น การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น, การกระจายผลประโยชน์ และความยั่งยืนในการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน

93

Inclusive finance for inclusive growth and development

ศึกษาบทบาทของ inclusive finance ในการส่งเสริมการเติบโตและการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม นักวิจัยนำเสนอแนวคิดที่ว่าการเงินในรูปแบบดังกล่าวช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการเงิน, ความเท่าเทียมทางการเงินได้, การลดความยากจน และความเหลื่อมล้ำ นอกจากนี้นักวิจัยยังได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมในประเด็นของผลกระทบจากการเข้าถึงการบริการทางการเงินต่อความสามารถในการส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ, ลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ และปรับปรุงสวัสดิการ อาทิ การใช้ mobile banking, สินเชื่อรายย่อย และโครงการให้ความรู้ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและผู้ด้อยโอกาส เพื่อสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและครอบคลุม

92

Innovation for Inclusive Growth: Towards a Theoretical Framework and a Research Agenda

ศึกษาแนวคิดเรื่องนวัตกรรมแบบมีส่วนร่วม (Inclusive innovation) โดยให้นิยามว่า คือ นวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ด้อยโอกาส ว่ามีผลต่อการจัดการกับความไม่เท่าเทียม และการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน, การนำไปใช้เชิงพาณิชย์ และการสร้างมูลค่าได้อย่างไร โดยนำเสนอมุมมองใหม่ที่เชื่อมโยงแนวคิดด้านนวัตกรรมเข้ากับเป้าหมายทางสังคมและเศรษฐกิจ ผ่านการเสนอกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี พร้อมทั้งมองว่าควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในด้านกลยุทธ์, การประกอบการ และการตลาด และเชื่อว่าแนวคิดดังกล่าวมีศักยภาพในการสร้างความเป็นอยู่ทางสังคม และเศรษฐกิจในชุมชนที่ดีขึ้นได้ และกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมในการวิจัยนวัตกรรมทางสังคมเพื่อส่งเสริมการเติบโตอย่างมีส่วนร่วม

91

Inclusive growth and inclusive development: a review and synthesis of Asian Development Bank literature

บทวิเคราะห์ และสังเคราะห์จากองค์ความรู้ และงานวิจัยต่างๆ ของทาง Asian Development Bank (ADB) โดยมุ่งเน้นในเรื่องที่เกี่ยวกับการเติบโต และการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม แม้ว่าจะยังไม่มีคำจำกัดความที่เป็นที่ยอมรับร่วมกัน แต่โดยทั่วไปแล้วจะให้ความหมายถึง "การเติบโตแบบองค์รวมอย่างเท่าเทียมกัน" ทั้งในมิติทางเศรษฐกิจ, สังคม และสถาบัน ทาง ADB เองได้แนะนำมาตรการต่างๆ เพื่อให้สามารถบรรลุการเติบโตอย่างมีส่วนร่วม รวมถึงการส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน, การสร้างความเท่าเทียมทางการเมือง, การเสริมสร้างขีดความสามารถ และการสร้างโครงข่ายรองรับทางสังคม

ติดต่อ สถาบันเกื้อกูลเศรษฐกิจชุมชน

ส่งข้อความสำเร็จ...

© 2020 สถาบันเกื้อกูลเศรษฐกิจชุมชน
Institute for Local Economy Foundation

59/1 ม.3 ตำบลดอนขมิ้น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี 71120
Tel: 09 5962 9189 E-mail: admin@kueakun.com

bottom of page