top of page

ไม้กวาด(รายได้) บ้านหนองหิน



ในตอนนั้นเราขนไม้กวาดเป็นมัดๆ ที่เราฝึกทำใส่ท้ายรถกะบะแล้วขับรถแร่ขายให้กับร้านโชว์ห่วยที่สนใจรับซื้อทั่วอำเภอ จากอำเภอหนึ่งสู่อำเภอหนึ่ง ภายในจังหวัดกำแพงเพชร โดยใช้เวลาเพียงครึ่งวันก็พบว่าเราสามารถสร้างรายได้หลักหมื่นจากไม้กวาดได้ มันทำให้เรามีกำลังใจว่าไม้กวาดที่เราใช้เวลาฝึกฝนทำและตั้งใจให้เป็นอาชีพของเรา ขายได้จริงๆ ทำให้เรามั่นใจว่าเราสามารถยึดการทำไม้กวาดเป็นอาชีพของเราได้

คุณชลธิชา  วรนาม ประธานกลุ่มไม้กวาดบ้านหนองหิน อำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร ภายใต้โครงการ “การพัฒนาศักยภาพและยกระดับขีดความสามารถของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ไม้กวาด จังหวัดกำแพงเพชร ด้วยกลไกขับเคลื่อนห่วงโซ่คุณค่าใหม่บนฐานทุนทรัพยากรพื้นถิ่น” มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร



ไม้กวาด(รายได้) บ้านหนองหิน


เดิมคุณชลธิชา  วรนาม  ทำงานอยู่ที่กรุงเทพฯ และย้ายกลับมาภูมิลำเนาเดิมที่จังหวัดกำแพงเพชรและพยายามมอวหาอาชีพ จึงสนใจและหัดทำไม้กวาดจากดอกหญ้าก๋ง และ ดอกข้าวฟ่าง โดยมีการประมาณการคร่าวๆ แล้วว่าหากยึดอาชีพนี้จะสามารถมีรายได้สัปดาห์ละประมาณ 7,000 บาท ซึ่งรูปแบบของไม้กวาดที่ทำก็เป็นแบบดั้งเดิมตามที่พบเห็นกันในท้องตลาด ฝึกฝนทำไปเรื่อยๆ จนมีความชำนานมากขึ้น ทำให้มีจำนวนไม้กวาดเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย จึงเริ่มหาที่ขาย ซึ่งตอนนั้นการคิดต้นทุน กำไร ต่างๆ ก็ยังไม่ถูกต้องสักทีเดียว เลยไม่ได้คิดขายราคาสูงนักโดยเริ่มต้นส่งขายที่ราคาเพียงด้ามละ 25 บาท



ในตอนนั้นเราขนไม้กวาดเป็นมัดๆ ที่เราฝึกทำใส่ท้ายรถกะบะแล้วขับรถแร่ขายให้กับร้านโชว์ห่วยที่สนใจรับซื้อทั่วอำเภอ จากอำเภอหนึ่งสู่อำเภอหนึ่ง ภายในจังหวัดกำแพงเพชร โดยใช้เวลาเพียงครึ่งวันก็พบว่าเราสามารถสร้างรายได้หลักหมื่นจากไม้กวาดได้ มันทำให้เรามีกำลังใจว่าไม้กวาดที่เราใช้เวลาฝึกฝนทำและตั้งใจให้เป็นอาชีพของเรา ขายได้จริงๆ ทำให้เรามั่นใจว่าเราสามารถยึดการทำไม้กวาดเป็นอาชีพของเราได้


ชิ้นไหนไม่สวยร้านขายไม่ได้ก็ขนกลับบ้าน ตอนนั้นไม่ได้คำนึงถึงผลกำไรต่างๆ คิดเพียงแต่ว่าต้องการยึดการทำไม้กวาดเป็นอาชีพเท่านั้น เมื่อขายไปได้สักพักก็มาค้นพบว่า ช่วงที่เราขายได้ดีนั้นเป็นช่วงเดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนธันวาคม ซึ่งตอนนั้นเจ้าอื่นๆ จะไม่มีดอกหญ้าก๋งที่จะนำมาทำไม้กวาดกันแล้ว แต่ของเราซึ่งทำสะสมเอาไว้ตั้งแต่ต้นปีจึงมีของขายตลอด เราจึงเริ่มวางแผนการผลิตให้สัมพันธ์กับช่วงเวลาที่เก็บเกี่ยวดอกหญ้า ให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ไม้กวาดในตลาด

เราเองก็ใช้ดอกหญ้าก๋งจากในพื้นที่และซื้อมาจากจังหวัดเชียงรายกับจังหวัดแม่ฮ่องสอน ดอกหญ้าก๋งจัดเป็นพืชล้มลุกตระกูลหญ้าที่มีลำต้นตั้งตรง ลำต้นแตกกอคล้ายกอไผ่ ลำต้นมีลักษณะทรงกลม แบ่งเป็นข้อปล้องชัดเจน มีความสูงของลำต้นประมาณ 3–4 เมตร เป็นพืชที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ อยู่ตามเชิงเขาหรือพื้นที่สูง ส่วนใหญ่จะเก็บได้ในช่วงเดือนธันวาคม–เมษายน ซึ่งช่วงที่ดอกออกมากที่สุดจะอยู่ในช่วงต้นเดือนมกราคม เราก็จะเริ่มสั่งจองดอกหญ้าก๋งมาผลิตไม้กวาดกันช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งจะส่งมาเป็นกระสอบละ 40 กิโลกรัม ตกประมาณกิโลกรัมละ 60 บาท หากซื้อช่วงเดือนอื่นก็จะแพงขึ้นอาจมีราคาสูงถึง 75 บาทเลยทีเดียว



จากนั้นเราก็รวมกลุ่มไม้กวาดบ้านหนองหินเพื่อกระจายรายได้ให้กับสมาชิกในกลุ่มโดยเราจะใช้แรงงานผลิตในชุมชน โดยเราจะนำวัตถุดิบของกลุ่มไปให้ เพื่อควบคุมคุณภาพ ปริมาณของดอกไม้กวาดแต่ละชนิด ซึ่งเมื่อก่อนเราก็จะรับซื้อไม้กวาดจากคนในชุมชนแต่เกิดปัญหาที่คุณภาพไม้กวาดไม่คงที่ เนื่องจากบางคนก็อยากลดต้นทุนตนเองโดยการลดประมาณดอกหญ้าทำให้ไม้กวาดมีความหนาบางไม่เท่ากัน ทำให้ขายไม่ได้ในที่สุด


เรามีการบันทึกรายรับ รายจ่าย ก็พบว่าปีแรกที่ทำสามารถสร้างรายได้จากไม้กวาดถึงหลักแสนเลยทีเดียว ซึ่งตอนนี้ทางกลุ่มของเราก็ทำไม้กวาดกันมาได้ 3-4 ปี รายได้ก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ช่องทางขายนอกจากร้านโชว์ห่วยในจังหวัดกำแพงเพชรแล้ว ยังมีทั้งออนไลน์ ออกงานแสดงสินค้าต่างๆ อีกด้วย

พอมีโครงการ “การพัฒนาศักยภาพและยกระดับขีดความสามารถของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ไม้กวาด จังหวัดกำแพงเพชร ด้วยกลไกขับเคลื่อนห่วงโซ่คุณค่าใหม่บนฐานทุนทรัพยากรพื้นถิ่น” ของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรเข้ามาสนับสนุน ก็มีส่วนช่วยในการพัฒนาไม้กวาดในรูปแบบต่างๆ เป็นทางเลือกให้ลูกค้ามากขึ้น เหมาะสมกับการใช้งานในสมัยนี้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ไม้กวาดที่ถูกพัฒนาให้คำนึงถึงสรีระร่างกายของผู้ใช้งาน ลดการออกแรงและการก้มเงยในการใช้งาน หรือการพัฒนาการเข้ารูปไม้กวาดแบบใหม่ให้มีความคงทนแข็งแรงไม่หลุดร่วง เทคโนโลยีการผลิตไม้กวาด ทั้งการจัดการเชื้อรา พัฒนาการขึ้นรูปไม้กวาดได้ง่ายขึ้นจากการต้ม การเติมน้ำส้มสายชู การอบในขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งกว่าจะได้แต่ละกระบวนการก็มีการทดลองกับโครงการอยู่หลากหลายวิธีเช่นกัน



ทางโครงการยังสนับสนุนส่งเสริมให้ไม้กวาดของเราไปสู่สายตาผู้คนมากขึ้นจากการออกงานแสดงสินค้าต่างๆ ซึ่งผลตอบรับก็เป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง เราขายจนของไม่พอขายเลยทีเดียว อีกทั้งยังได้ลูกค้าที่สนใจต้องการให้เราผลิตสินค้าตามความต้องการของลูกค้าอีกด้วย   

ตอนนี้กลุ่มของเรามีการกระจายงานให้คนในชุมชนมากขึ้นโดยแยกออกไปตามกระบวนการต่างๆ ตั้งแต่ คนคัดดอกหญ้า คนตัดและดัดด้ามไม้กวาด คนสานไม้กวาด ตอนนี้เริ่มมีการทดลองปลูกข้าวฟ่างในพื้นที่เพิ่ม ซึ่งทางกลุ่มมองว่าการปลูกในพื้นที่สามารถสร้างรายได้ให้คนในชุมชนอีกทาง โดยข้าวฟ่าง 1 ไร่ สามารถเก็บเกี่ยวดอกข้าวฟ่างได้ 80-120 กิโลกรัม ซึ่งสามารถขายแบบนั้นได้เลยหรือเพิ่มกระการแปรรูปขั้นต้นโดยการเก็บเกี่ยวดอกข้าวฟ่าง นำคัดช่อดอกตัวผู้กับตัวเมียออกจากกัน ซึ่งราคารับซื้อต่างกันโดยดอกตัวผู้จะมีราคากิโลกรัมละ 65 บาท ส่วนดอกตัวเมียจะมีราคากิโลกรัมละ 110 บาท นำมารีดเม็ดออกจากช่อ จากนั้นนำมาตากให้แห้ง รวบรวมเป็นมัดละ 5 กิโลกรัม เพื่อส่งไปขึ้นรูปเป็นไม้กวาดต่อไป


ดอกหญ้าก๋งจัดเป็นพืชล้มลุกตระกูลหญ้าที่มีลำต้นตั้งตรง ลำต้นแตกกอคล้ายกอไผ่ ลำต้นมีลักษณะทรงกลม แบ่งเป็นข้อปล้องชัดเจน

มีความสูงของลำต้นประมาณ 3–4 เมตร เป็นพืชที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ อยู่ตามเชิงเขาหรือพื้นที่สูง ส่วนใหญ่จะเก็บได้ในช่วงเดือนธันวาคม–เมษายน

ซึ่งช่วงที่ดอกออกมากที่สุดจะอยู่ในช่วงต้นเดือนมกราคม

Kommentare


ติดต่อ สถาบันเกื้อกูลเศรษฐกิจชุมชน

ส่งข้อความสำเร็จ...

© 2020 สถาบันเกื้อกูลเศรษฐกิจชุมชน
Institute for Local Economy Foundation

59/1 ม.3 ตำบลดอนขมิ้น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี 71120
Tel: 09 5962 9189 E-mail: admin@kueakun.com

bottom of page