top of page

กะปิน้ำเช้า 200 ปี เกาะลิบง

คุณรมิดา สารสิทธิ์ วิสาหกิจชุมชนการท่องเที่ยวและพัฒนาอาชีพเกาะลิงบง จังหวัดตรัง



คุณรมิดา สารสิทธิ์ หรือ จ๊ะเซาะ เลขากลุ่มวิสาหกิจชุมชนการท่องเที่ยวและพัฒนาอาชีพเกาะลิงบง เล่าให้ฟังว่า “ลิบง” เป็นภาษามลายู แปลว่า “ต้นเหลาชะโอน” ซึ่งเป็นปาล์มขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง สมัยก่อนพบมากบนเกาะจึงถูกนำมาตั้งชื่อ ปัจจุบันเกาะลิบงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามแห่งหนึ่งในจังหวัดตรัง มีสถานที่น่าสนใจมากมาย เช่น แหลมปันหยัง แหลมจุโหย แหลมโต๊ะชัย หาดทุ่งหญ้าคา หาดตูบ ฯลฯ บริเวณรอบๆ เกาะลิบงนั้นอุดมสมบูรณ์ไปด้วยหญ้าทะเล ซึ่งเป็นอาหารสัตว์น้ำที่กำลังจะสูญพันธ์อย่าง “พะยูน” โดยจะพบ ได้บ่อยในบริเวณรอบๆ เกาะแห่งนี้อีกด้วย


จ๊ะเซาะ เล่าให้ฟังอีกว่า สืบย้อนไปตั้งแต่สมัยหลายชั่วอายุคน เกาะลิบงเองมีการทำกะปิใช้กันอยู่แล้ว จากนั้นก็มีห่างหายไปตามกาลสมัย ทางกลุ่มจึงเริ่มรื้อฟื้น สืบค้น จากคนเฒ่าคนแก่ที่ยังมีความรู้การทำกะปิ ซึ่งที่เกาะลิบงมีการทำ กะปิน้ำเช้า และ กะปิน้ำค่ำ กะปิน้ำเช้านั้นเป็นการนำ กุ้งเคย ที่จับได้ในตอนเช้าแล้วนำมาทำกะปิทันที สีที่ได้ก็จะเป็นสีชมพูสวยน่ารับประทาน   ส่วน กะปิน้ำค่ำ คือการจับกุ้งเคยได้หลังเทียงไปแล้วนำมาทำกะปิในตอนเช้า สีที่ได้ก็จะคล้ำกว่ากะปิน้ำเช้า แต่จ๊ะเซาะกระซิบบอกอร่อยทั้งคู่ถึงแม้ว่าเกาะลิบงจะเป็นเมืองท่องเที่ยว มีผู้คนเข้ามาเที่ยวบนเกาะค่อนข้างเยอะในแต่ละปี สร้างรายได้ให้กับคนในพื้นที่อย่างมาก แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด ยังมีอีกหลายครัวเรือนที่ไม่ได้มีธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว อย่างเช่นชาวสวนยางพารา ที่ไม่ได้ทำที่พักโฮมสเตย์ ไม่มีซาเล้งนำเที่ยว ก็จะขาดรายได้ส่วนนี้ไป พอเรามาทำกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตรงนี้ ชาวบ้านก็สนใจอยากเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อเพิ่มรายได้จากการทำสวนยางพารา 




วิสาหกิจชุมชนการท่องเที่ยวและพัฒนาอาชีพเกาะลิงบง จังหวัดตรัง มีสมาชิกทั้งหมด 15 ครัวเรือน โดยจะหมุนเวียนกันเข้ามาผลิตกะปิในวิสาหกิจชุมชน ใครว่างก็เข้ามาช่วยหรือเด็กๆ เยาวชนจะเข้ามาช่วยทำในกลุ่มช่วงหลังเลิกเรียน มีรายได้เสริมเป็นการแบ่งเบาภาระของครอบครัวได้อีกทางหนึ่ง


เมื่อก่อนเราไม่รู้เลยว่าเงินที่มีเอาไปใช้ทำอะไรบ้าง แล้วก็ไม่รู้เลยว่าตัวเองอยู่ได้ด้วยธุรกิจที่ทำอยู่หรือเปล่า ทั้งที่ธุรกิจก็ขายดี ขายได้ ของหมดทุกวัน แต่พอมาดูจริงๆ พบว่าธุรกิจที่ทำอยู่ไม่มีกำไรเลย เงินเก็บไม่มี เจ๊งไม่รู้ตัว เรารู้เลยว่าต้องปรับเรื่องนี้อย่างจริงจังไม่อย่างนั้นวิสาหกิจชุมชนของเราจะไปไม่รอด


ตอนนี้เราเริ่มหาความรู้เพื่อนำมาพัฒนาชุมชนของเรา หลายส่วนมาจากหน่วยงานภาครัฐต่างๆ เข้ามาสนับสนุนอย่างเช่นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ได้เข้ามาทำงานวิจัยร่วมกับวิสาหกิจและนำองค์ความรู้เรื่องการจัดการการเงินทำให้เรามองภาพการบริหารการเงินออก เราแยกกระเป๋าเงินครัวเรื่องกับกระเป๋าเงินธุรกิจออกกันอย่างสิ้นเชิง


วันนี้เรามีรายได้จากกะปิทุกวันราวๆ 1,000-2,000 บาท อีกทั้งยังมีรายได้จากส่วนที่พัก การท่องเที่ยวรอบๆ เกาะ ร้านอาหาร ที่ช่วยหนุนเสริมธุรกิจจากวิสหกิจชุมชนอีกด้วย


16 views0 comments

Comments


bottom of page