การพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น
(Local Economic Development)
> Job Creation: สร้างโอกาสการทำงาน/งานใหม่ๆ ภายในท้องถิ่น
> Local supply chains: ส่งเสริมการใช้วัตถุดิบ, สินค้าและบริการในพื้นที่ สร้างการหมุนเวียนเศษฐกิจภายในท้องถิ่น
> improve live standard: การยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กับคนในท้องถิ่น
บทความงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
“Social Marketing” within the Social Entrepreneurship Research Context: A Systematic Literature Review
33
จัดการระบบความรู้สมัยใหม่เกี่ยวกับ “การตลาดทางสังคม” จากมุมมองของการวิจัยธุรกิจเพื่อสังคม เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบ และกลยุทธ์ต่าง ๆ รวมไปถึงการเติมเต็มช่องว่างขององค์ความรู้ที่เกี่ยวของกับการเป็น “ผู้ประกอบการเพื่อสังคม” ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่าง "การประกอบการธุรกิจ กับการทำเพื่อสังคม" เพื่อการพัฒนาสู่ธุรกิจเพื่อสังคมที่สามารถสร้างสรรค์ทั้งมูลค่าทางเศรษฐกิจ และส่งมอบคุณค่าทางสังคมได้
The concept of innovation in social economy. A review and a research agenda
32
ศึกษาแนวคิดการใช้นวัตกรรมในเชิงเศรษฐกิจเพื่อสังคม โดยทำการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อ “เศรษฐกิจเพื่อสังคม” ที่ได้มีการรวมเอาแนวคิดด้านนวัตกรรมเข้าไปบูรณาการร่วมด้วย โดยเชื่อว่าพัฒนาเชิงนวัตกรรมจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มได้ หากแต่แนวทางการทำธุรกิจรูปแบบเดิมอาจไม่ตอบโจทย์ได้มากพอ จึงมองว่า “ธุรกิจเพื่อสังคม” เป็นแนวทางใหม่ที่มีศักยภาพมากพอในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ทั้งในด้านของการบริการ, สินค้า หรือการแปรรูป นอกจากนั้นยังพบว่างานวิจัยที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่ยังคงขาดมิติด้านการบูรณาการนวัตกรรมอยู่ และพบว่างานวิจัยเหล่านั้นมีแนวโน้มที่จะศึกษาองค์ความรู้ในเชิงทฤษฎีมากกว่าการศึกษาแนวทางการปฏิบัติจริง
Social enterprise marketing: review of literature and future research agenda
31
การสำรวจองค์ความรู้ด้านการตลาดสำหรับธุรกิจเพื่อสังคม (SEM) ที่มีอยู่ เพื่อช่วยระบุแนวโน้ม, ความท้าทาย และเติมเต็มช่องว่างในองค์ความรู้ดังกล่าว เพื่อช่วยให้ธุรกิจเพื่อสังคมมีความเข้าใจ และสามารถวางแผนกลยุทธ์/กิจกรรมทางการตลาดเพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวก รวมถึงการสร้างผลกำไรให้กับตัวธุรกิจเอง
The role of social enterprise in regional development
30
ลักษณะของการพัฒนาภูมิภาคและท้องถิ่น และพิจารณาการมีส่วนร่วมของธุรกิจในการพัฒนา โดยนำเสนอตัวอย่างการศึกษา 3 รายการ ที่แสดงให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมทางสังคม ทางเศรษฐกิจ และทางสิ่งแวดล้อมของธุรกิจสังคมต่อการพัฒนาในระดับท้องถิ่นและภูมิภาค
Social Enterprise as a Catalyst for Sustainable Local and Regional Development
29
นำเสนอการประยุกต์ใช้กรอบทฤษฎีเศรษฐกิจสังคม ในการพัฒนาท้องถิ่นและภูมิภาคที่ยั่งยืน โดยมองว่าธุรกิจเพื่อสังคมมีส่วนสำคัญในการสร้างนวัตกรรมในการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นและภูมิภาคอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังศึกษามุมมองอื่นๆร่วมด้วย อาทิ อุปสรรคความท้าทาย, การแก้ไขปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมผ่านรูปแบบธุรกิจ, การเติบโตทางเศรษฐกิจในท้องถิ่น, การสร้างงาน และการเสริมสร้างศักยภาพของชุมชน
Understanding local entrepreneurship and small enterprises in the tourism–development nexus: The case of western Uganda
28
ศึกษามุมมองต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์ และผลกระทบของการทำธุรกิจท่องเที่ยวท้องถิ่นขนาดเล็ก อาทิ บริบท, การจัดการทรพยากร, วิธีการปฏิบัติงาน และการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน รวมไปถึงความท้าทาย, โอกาส, และกลยุทธ์สำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
Putting Sustainable Development into Practice? The role of local policy partnership networks
27
ศึกษาการนำแนวคิดของการพัฒนาอย่างยั่งยืนมาใช้ในการวางนโยบายท้องถิ่นอย่างไรให้สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นความสำคัญของการร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียท้องถิ่นต่างๆ รวมถึงหน่วยงานรัฐบาล ภาคเอกชน และองค์กรชุมชน เพื่อบรรลุผลการพัฒนาที่ยั่งยืน บทความยังกล่าวถึงอุปสรรคที่เครือข่ายเหล่านี้อาจต้องเผชิญ และได้นำเสนอแนวทางในการเสริมสร้างประสิทธิภาพ และส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับท้องถิ่น
Community enterprise networks: the potential for partnerships for local economic development
26
บทบาทสำคัญของธุรกิจชุมชนในการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นผ่านการสร้างเครือข่าย โดยเน้นถึงประโยชน์ของการร่วมมือกันระหว่างธุรกิจชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ เช่น รัฐบาลท้องถิ่น, ธุรกิจ และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ทั้งยังสำรวจศักยภาพต่างๆ ที่เครือข่ายนี้สามารถส่งเสริมได้ อาทิ การสร้างงาน, การปรับปรุงห่วงโซ่อุปทาน และยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ของชุมชน นอกจากนี้ยังกล่าวถึงความท้าทายและโอกาสที่อาจเกิดขึ้น และแนะนำกลยุทธ์เพื่อเพิ่มผลกระทบเชิงบวกต่อชุมชน
Knowledge network for sustainable local development
25
ความสำคัญของการสร้างเครือข่ายองค์ความรู้ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ในการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับท้องถิ่นระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแต่ละภาคส่วน อาทิ วิสาหกิจท้องถิ่น, หน่วยงานรัฐบาล, สถาบันการศึกษา และองค์กรภาคประชาสังคม โดยการบูรณาการความรู้, ความเชี่ยวชาญ, ทรัพยากร, การสนับสนุนด้านความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม และการรักษามรดกทางวัฒนธรรม อันนำไปสู่การพัฒนาแนวทางการปฏิบัติที่ยั่งยืนทั้งทางด้านสังคม, เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม
The creation of a network, in the North of Portugal, as an opportunity for territorial sustainability
24
การสร้างเครือข่ายในภูมิภาคทางตอนเหนือของโปรตุเกสเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในระดับภูมิภาค การสร้างเครือข่ายดังกล่าวสามารถกระตุ้นการพัฒนาในท้องถิ่นโดยส่งเสริมความร่วมมือ, การแบ่งปันทรัพยากร และการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและความอยู่รอดของกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งมีจำนวนค่อนข้างมาก และเป็นตัวแปรสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิต รวมทั้งมีผลต่อเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค
The New Field of Sustainable Entrepreneurship: Studying Entrepreneurial Action Linking “What is to be Sustained” with “What is to be Developed”
23
แนวคิดของการเป็นผู้ประกอบการที่ยั่งยืน ซึ่งนิยามว่าเป็นการดำเนินการของผู้ประกอบการที่มุ่งเน้นการผสมผสานการรักษาสิ่งแวดล้อม, การให้ความสนับสนุนด้านคุณภาพความเป็นอยู่ และความยั่งยืนทางสังคมไปพร้อมกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ โดยการหาคำตอบให้กับคำถามที่ว่า “อะไรคือสิ่งที่จำเป็นต่อความยั่งยืน?” และ “อะไรคือสิ่งที่(ผู้ประกอบการ)จำเป็นต้องพัฒนา?” เพื่อปรับแนวทางการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับเป้าหมายด้านความยั่งยืน
Creating Sustainable Local Enterprise Networks
22
แนวทางในการส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนภายในวิสาหกิจท้องถิ่น โดยเน้นความสำคัญของการสร้างเครือข่ายที่เชื่อมโยงกัน, การเข้าในบทบาทของผู้มีส่วนร่วม, ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างธุรกิจ, เพิ่มการพัฒนาทางเศรษฐกิจท้องถิ่น และสนับสนุนความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม รวมทั้งศึกษาความท้าทายที่อาจเกิดขึ้น อาทิ ข้อจำกัดในการเข้าถึงทรัพยากร และการตลาด