top of page
newbg13-13.jpg

รวมบทความวิจัยที่เกี่ยวกับ

การพัฒนา
เศรษฐกิจท้องถิ่น

(Local Economic Development)

foto-36.jpg

การพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น

(Local Economic Development)

> Job Creation: สร้างโอกาสการทำงาน/งานใหม่ๆ ภายในท้องถิ่น

> Local supply chains: ส่งเสริมการใช้วัตถุดิบ, สินค้าและบริการในพื้นที่ สร้างการหมุนเวียนเศษฐกิจภายในท้องถิ่น

> improve live standard: การยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กับคนในท้องถิ่น

foto-32.jpg
foto-35.jpg
foto-37.jpg

บทความงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

Addressing poverty through local economic and enterprise development: A review of conceptual approaches and practice

69

ศึกษาเรื่องการพัฒนาธุรกิจท้องถิ่นในพื้นที่ชนบทและศูนย์กลางเมืองขนาดเล็กและขนาดกลาง (SIUC) ในมุมมองของการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆทีมีผลต่อการพัฒนา อาทิ การวิเคราะห์รูปแบบ และข้อจำกัดของกลยุทธ์ที่ใช้ในการพัฒนา, ประเด็นปัญหาเชิงพื้นที่ในการกำหนดขอบเขตระหว่างชนบนและเมือง เพื่อหาปัญหาที่แท้จริง, ประเด็นการปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงให้ทันยคโลกาภิวัตน์ ในงานวิจัยชิ้นนี้ยังนำเสนอกรอบการพัฒนาธุรกิจ และเศรษฐกิจชุมชน และยังเน้นย้ำประเด็นด้านการส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการ ในมิติของความไม่เท่าเทียมกันในการพัฒนา, ความรับผิดชอบ และโครงสร้างพื้นฐาน

Read More

Local enterprise and development in tourism

65

สำรวจบทบาทของธุรกิจท้องถิ่น ขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)ในการส่งเสริมการพัฒนาในภาคการท่องเที่ยว โดยระบุถึงการมีส่วนร่วมสำคัญของพวกเขาในเศรษฐกิจท้องถิ่นและการพัฒนาชุมชน โดยแนะนำกลยุทธ์ และปัจจัยต่างๆ ที่ธุรกิจท้องถิ่นสามารถใช้เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน และความยั่งยืน อาทิ การสร้างนวัตกรรม, การร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในท้องถิ่น และการใช้ประโยชน์จากอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม และทรัพยากรท้องถิ่นบทความนี้ยกตัวอย่างกรณีศึกษาจากคณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งเวลส์ โดยแสดงให้เห็นว่าธุรกิจท้องถิ่นสามารถขับเคลื่อนการพัฒนาในภาคการท่องเที่ยวได้อย่างไร แนวทางนี้ไม่เพียงแต่ส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่น แต่ยังเพิ่มประสบการณ์การท่องเที่ยวโดยรวม ด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์ และบริการท้องถิ่นที่หลากหลายและแท้จริง

Read More

Local enterprise companies and rural development

64

ศึกษาบทบาทของ Local Enterprise Companies (LECs) ซึ่งเป็นเครือข่ายของหน่วยงานพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นที่ดำเนินการภายใต้นโยบายขององค์กรพัฒนาภูมิภาคที่ชื่อว่า Scottish Enterprise โดย LECs ถูกออกแบบมาเพื่อแก้ไขความล้มเหลวของตลาด และส่งเสริมด้านความร่วมมือ บทความเน้นย้ำความสำคัญของการเข้าใจสภาพแวดล้อมและปัจจัยภายนอกในภาพมุมกว้าง ทั้งปัจจัยทางเศรษฐกิจ,สังคม และการเมือง รวมไปถึงการกระจายอำนาจจากรัฐบาลกลางไปยังหน่วยงานที่นำโดยภาคเอกชน, ความรับผิดชอบ, ลักษณะต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจชุมชน และการพัฒนาบทเรียนสำหรับหน่วยงานพัฒนาระดับภูมิภาค แนวทางของ LECs ยังให้ข้อมูลเชิงลึกที่มีความสำคัญต่อการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจในชุมชน และการจัดตั้งหน่วยงานที่คล้ายคลึงกันในประเทศอื่นๆ

Read More

THE ROLE OF COST MANAGEMENT STRATEGIES FOR SME BUSINESS: A CONCEPTUAL FRAMEWORK

63

ศึกษาความรู้เชิงวิเคราะห์ในการวางกลยุทธ์ด้านการจัดการต้นทุนในการสร้างความยั่งยืนทางการเงินให้กับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ทั้งในมุมมองขององค์ความรู้ และกรอบแนวคิด ซึ่งมองว่าจะช่วยส่งเสริมการพัฒนาและการเติบโตของธุรกิจ และเพิ่มการจ้างงานทั่วโลก โดยมีการอภิปรายถึงข้อดีและข้อเสียของกลยุทธ์การจัดการต้นทุนแบบมาตรฐาน นอกจากนี้ยังเน้นความสำคัญของความรู้ด้านการจัดการการเงินสำหรับองค์กร และผู้ประกอบการ โดยสนับสนุนการสร้างกลยุทธ์เฉพาะสำหรับธุรกิจแต่ละประเภท

Read More

Financial literacy of entrepreneurs: a systematic review

62

ศึกษาระดับความรู้ในเรื่องการเงินของผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดย่อม และขนาดเล็ก (MSMEs) ทั่วโลก เพื่อสร้างแบบจำลองการวิจัยที่มุ่งช่วยเหลือผู้กำหนดนโยบายในการพัฒนาการฝึกอบรมสำหรับผู้ประกอบการ ผ่านการวิเคราะห์ผลกระทบในการเข้าถึงด้านการเงินจากการทบทวนวรรณกรรม โดยพบว่าโดยส่วนมากแล้วอยู่ในระดับต่ำ งานวิจัยจึงเน้นให้ความสำคัญในการเสริมความรู้ที่ดีด้านการเงิน, ร่วมกับการเข้าถึงแหล่งทุน และการมีนโยบายที่ช่วยสนับสนุนที่ดีพอที่มากพอจะช่วยเสริมประสิทธิภาพ และการเติบโตของธุรกิจได้ จากการทบทวนวรรณกรรมยังชี้ให้เห็นถึงการขาดแคลนวิธีการมาตรฐานในการวัดความรู้ทางการเงินของผู้ประกอบการ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความจำเป็นในการพัฒนาเครื่องมือประเมินในด้านนี้

Read More

Insights to research on the entrepreneurial process from a study on perceptions of entrepreneurship and entrepreneurs

60

ศึกษามุมมองของสังคมว่ามีอิทธิพลต่อกระบวนการผู้ประกอบการอย่างไร โดยจะพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ซึ่งรวมถึงบริบททางวัฒนธรรม, สังคม และเศรษฐกิจ และยังเน้นถึงความสำคัญของการเข้าใจมุมมองเหล่านี้เพื่อส่งเสริมการริเริ่มการเป็นผู้ประกอบการพร้อมทั้งปรับปรุงระบบสนับสนุน ในการศึกษานี้ค้นพบข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับลักษณะและพฤติกรรมที่ถูกมองว่าเป็นลักษณะของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จและทัศนคติของสังคมต่อการเป็นผู้ประกอบการ นอกจากนี้ยังชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการพัฒนานโยบาย, สภาพแวดล้อม และหลักสูตรการศึกษาที่เหมาะสม เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการเป็นผู้ประกอบการ

Read More

Regional Entrepreneurial Capacity

59

แนวคิดของ "ขีดความสามารถของผู้ประกอบการ" พร้อมด้วยการพัฒนาระบบการประเมินขีดความสามารถดังกล่าวในระดับภูมิภาค โดยพิจารณาจากขีดความสามารถของแรงงาน สภาพแวดล้อมทางสังคม และกรอบการทำงานของสถาบัน ทั้งยังศึกษาปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสามารถในการเป็นผู้ประกอบการในระดับภูมิภาค อาทิ การเข้าถึงตลาด, แหล่งเงินทุน, โอกาสทางการศึกษา และนโยบายสนับสนุน การศึกษานี้ยังเน้นความสำคัญของทัศนคติทางวัฒนธรรมต่อการเป็นผู้ประกอบการ และบทบาทของสถาบันในท้องถิ่นในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสนับสนุน ผ่านการวิเคราะห์เชิงคุณภาพและเชิงปริมาณรวมกัน บทความนี้นำเสนอกรอบการทำความเข้าใจและปรับปรุงระบบนิเวศน์ผู้ประกอบการในระดับภูมิภาคอย่างครอบคลุม

Read More

Local enterprise facilitation

58

แนวคิดของการช่วยอำนวยความสะดวกให้กับธุรกิจท้องถิ่น โดยมองว่าเป็นวิธีการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยการสร้างงานในชุมชนท้องถิ่น รวมไปถึงการศึกษาแนวคิดเรื่องความเต็มใจในการทำงานแบบเดียว/แบบกลุ่ม, การไม่บังคับ, การเชื่อมั่นในการพัฒนาตนเอง และความเชื่อมั่นต่อสายสัมพันธ์ของคนในท้องถิ่น โดยการนำหลักการ 'Trinity of Management' โดยมุ่งเน้นการอำนวยความสะดวกในปัจจัยที่สำคัญต่อความสำเร็จของธุรกิจท้องถิ่น ได้แก่ การผลิต/องค์กร, การบัญชีการเงิน และทักษะด้านการตลาด

Read More

LOCAL ENTREPRENEURSHIP: A DEVELOPMENT MODEL BASED ON COMMUNITY INTERACTION FIELD THEORY

57

โปรแกรมการศึกษาการเสริมสร้างการพัฒนา และการเติบโตของผู้ประกอบการ (EDGE) ซึ่งมีเป้าหมายหลัก คือ การเพิ่มขีดความสามารถของชุมชน, ส่งเสริมกิจกรรมการประกอบการ และส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคมภายในท้องถิ่น อย่างไรก็ตามบทความยนังเน้นย้ำถึงความท้าทายที่โครงการ EDGE ต้องเผชิญ อาทิ การขาดการบูรณาการเข้ากับท้องถิ่น, การได้รับการยอมรับอย่างจำกัด และการขาดการสนับสนุนจากผู้นำท้องถิ่น
สำรวจแบบจำลองการพัฒนาที่เน้นความสำคัญของการปฏิสัมพันธ์ในชุมชนในการส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการท้องถิ่น แบบจำลองนี้สร้างขึ้นบนพื้นฐานของทฤษฎีสนามปฏิสัมพันธ์ของชุมชน ซึ่งเสนอว่าการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นอย่างยั่งยืนนั้นสามารถทำได้ดีที่สุดผ่านการมีส่วนร่วมและความร่วมมือที่แข็งขันของสมาชิกในชุมชน ทฤษฎีนี้เน้นถึงความสำคัญของเครือข่ายสังคม ค่านิยมทางวัฒนธรรม และความรู้ท้องถิ่นในการเสริมสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการและเพิ่มพูนความสามารถของพวกเขา การศึกษานี้ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับวิธีที่กิจการท้องถิ่นสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของชุมชนและทุนทางสังคมในการสร้างธุรกิจที่ยืดหยุ่นและยั่งยืน

Read More

Entrepreneurial Capacities and Knowledge Development Processes – insights from a research project

54

แนวทางในการเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบการ และกระบวนการพัฒนาความรู้ในธุรกิจท้องถิ่นภูมิภาคยุโรป โดยสำรวจว่าองค์กรเหล่านี้มีการสร้าง และใช้ทักษะการประกอบการอย่างไร ในมุมมองของการวิจัยตลาด, การวิจัยและพัฒนา, การบริหารการเงิน, การจัดการธุรกิจ, การสร้างแบรนด์ และความสามารถในการประกอบการโดยรวม ทั้งยังรวมไปถึงความสามารถส่วนบุคคลที่จำเป็นต่อการประกอบการ อาทิ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ, ความรู้ทางเทคนิค, ความสามารถในการแก้ปัญหา, ความสามารถด้านความสัมพันธ์และการสื่อสาร และการทำงานเป็นทีม การศึกษาชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนให้เกิดนวัตกรรม และความร่วมมือระหว่างธุรกิจท้องถิ่น โดยผ่านกรณีศึกษา และข้อมูลเชิงประจักษ์ต่างๆ มุ่งเน้นปัจจัยสำคัญที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาขีดความสามารถทางการประกอบการ และกระบวนการพัฒนาความรู้ที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพในการเสริมสร้างการเติบโตและความยั่งยืนของธุรกิจท้องถิ่นผ่านการศึกษา และการฝึกอบรมเพื่อการเปลี่ยนผ่านเชิงปฏิบัติจากแนวคิดไปสู่การตระหนักรู้

Read More

A new value-added strategy for the US beef industry: The case of US Premium Beef Ltd

52

ศึกษากลยุทธ์ US Premium Beef Ltd (USPB) ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์เนื้อวัวในตลาดสหรัฐฯ โดยเน้นที่การนำแนวปฏิบัติเชิงนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตจนถึงการตลาด เพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์มีความแตกต่าง ซึ่งรวมถึงการใช้แนวทางการบูรณาการในแนวดิ่งเพื่อควบคุมคุณภาพ ตั้งแต่การเลี้ยงวัวจนถึงการแปรรูป และการกระจายสินค้า กลยุทธ์ดังกล่าวประกอบด้วย การร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับเกษตรกร, การนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้เพื่อการตรวจสอบย้อนกลับ, การประกันคุณภาพ, การให้ความสำคัญกับการสร้างแบรนด์ และการมีส่วนร่วมของผู้บริโภค โดยเชื่อว่าปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อความสามารถในการแข่งขัน และการทำกำไรในอุตสาหกรรมการผลิตเนื้อวัว

Read More

Farmers' market research 1940–2000: An inventory and review

51

ศึกษาคลังความรู้ และทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวกับตลาดการค้าปลีกของเกษตรกรรายย่อย และตลาดการขายตรงในอเมริกาเหนือตั้งแต่ปี 1940 ถึง 2000 ซึ่งพบว่าจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญตลอดช่วงศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการผ่านกฎหมายการตลาดขายตรงระหว่างเกษตรกรกับผู้บริโภคในปี 1976 การศึกษาถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลัก ได้แก่ ผู้บริโภคและผู้ขาย, ผลกระทบทางเศรษฐกิจ, ผลกระทบทางสังคม และตลาดของเกษตรกรในฐานะพื้นที่วิจัย มุ่งเน้นไปที่การมองหาองค์ความรู้ที่ยังขาดหายไป และการเพิ่มศักยภาพในการค้นหาความรู้เหล่านั้น โดยมีวัตถุประสงค์ในการนำมาใช้ประโยชน์ในการวิจัยในสาขาที่เกี่ยวข้อง พร้อมกันนี้ยังระบุถึงความท้าทายด้านระเบียบวิธีในการศึกษาการตลาดขายตรงทางการเกษตร และเรียกร้องให้มีการวิเคราะห์เชิงลึกร่วมกับการอภิปรายผลการวิจัยเพื่อพัฒนางานวิจัยในตลาดเกษตรกรที่ถูกต้องและเชื่อถือได้

Read More
bottom of page