การพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น
(Local Economic Development)
> Job Creation: สร้างโอกาสการทำงาน/งานใหม่ๆ ภายในท้องถิ่น
> Local supply chains: ส่งเสริมการใช้วัตถุดิบ, สินค้าและบริการในพื้นที่ สร้างการหมุนเวียนเศษฐกิจภายในท้องถิ่น
> improve live standard: การยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กับคนในท้องถิ่น
บทความงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
Sustainable innovation, business models and economic performance: an overview
86
ศึกษาวิธีการผสมผสานนวัตกรรมเข้ากับโมเดลธุรกิจแบบยั่งยืนเพื่อความสำเร็จทางเศรษฐศาสตร์ ผ่านการมองภาพรวมของนวัตกรรม, โมเดลธุรกิจ และประสิทธิภาพเชิงเศรษฐศาสตร์ ในขณะเดียวกันยังมองถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม นักวิจัยได้ทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโมเดลธุรกิจแบบยั่งยืน, กระบวนการนวัตกรรม และตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการสร้างระบบในการพิจารณาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีอยู่หลายฝ่าย และการสร้างคุณค่าในมิติเชิงเศรษฐศาสตร์, สิ่งแวดล้อม และสังคม ทั้งยังกล่าวถึงความสำคัญในการวิจัยพร้อมทั้งเสนอแนวทางสำหรับการพัฒนาความเข้าใจในต้นแบบนวัตกรรมธุรกิจแบบยั่งยืน, ผลกระทบต่อผลการดำเนินงานขององค์กร และผลลัพธ์ด้านความยั่งยืน รวมไปถึงความท้าทายในการนำแนวคิดนี้ไปปฏิบัติ และเสนอแนะแนวทางสำหรับการวิจัยในอนาคตเพื่อขยายองค์ความรู้ในด้านนี้ต่อไป
Business Ecosystems as the Approach to Create Value and Appropriate Value for Small Firms in Emerging Markets
84
ศึกษาว่าระบบนิเวศทางธุรกิจสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการประกอบการขนาดเล็กในตลาดเกิดใหม่ได้อย่างไร โดยมองว่าประเด็นหลักที่ส่งผลมากที่สุดคือ การใช้ทรัพยากรร่วมกัน ผ่านการศึกษาตัวอย่างการ ใช้ระบบนิเวศทางธุรกิจในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารขนาดเล็กของแทนซาเนีย เพื่อเอาชนะข้อจำกัดด้านทรัพยากร และการสร้างมูลค่าเพิ่ม งานวิจัยยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของการทำงานร่วมกัน, การแบ่งปันทรัพยากร และผลกระทบของเครือข่ายในการช่วยให้การประกอบการขนาดเล็กสามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการที่ระบบนิเวศทางธุรกิจสามารถสนับสนุนการเติบโตและการพัฒนาของธุรกิจขนาดเล็กในบริบทของตลาดเกิดใหม่
Ecosystem management: Past achievements and future promises
83
ศึกษาวิวัฒนาการของการจัดการระบบนิเวศในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา โดยเน้นถึงมุมมองด้านความสำเร็จและศักยภาพในอนาคต ในการศึกษาได้ทำการวิเคราะห์การพัฒนาแนวคิด, ความท้าทายในการนำไปปฏิบัติ และตัวอย่างความสำเร็จในหลากหลายภาคส่วน รวมทั้งยังอธิบายว่าการจัดการระบบนิเวศมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างไร นอกจากนี้ บทความยังสำรวจแนวโน้มและโอกาสที่อาจเกิดขึ้นใหม่สำหรับการจัดการระบบนิเวศ รวมถึงการบูรณาการเทคโนโลยี และบทบาทในการจัดการกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมระดับโลก โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญในความพยายามด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ, การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม, การพัฒนาที่ยั่งยืน และการอนุรักษ์อย่างต่อเนื่อง
A review of the ecosystem concept — Towards coherent ecosystem design
82
แนวคิดเรื่องระบบนิเวศ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำความเข้าใจคำจำกัดความ และเสนอแนะการออกแบบระบบนิเวศที่สอดคล้องกันสำหรับการวิจัยในอนาคต ผ่านการวิเคราะห์บทความ และทำการแบ่งรูปแบบของระบบนิเวศออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ระบบนิเวศทางธุรกิจ, นวัตกรรม, แพลตฟอร์ม และการประกอบการ พวกเขาเน้นย้ำถึงต้นกำเนิดของแนวคิดในนิเวศวิทยาและวิวัฒนาการในด้านการจัดการ จากการศึกษาพบว่าคำจำกัดความของระบบนิเวศยังมีส่วนที่การขาดความสอดคล้องระหว่างกันอยู่ ด้วยเหตุนี้นักวิจัยจึงได้นำเสนอคำจำกัดความที่เป็นเอกภาพของระบบนิเวศ โดยมองว่าเป็นเครือข่ายของผู้มีส่วนร่วมที่พึ่งพาอาศัยกัน โดยมีทรัพยากร, ความสามารถ และเทคโนโลยีที่เสริมกัน รวมถึงการมีส่วนร่วมของผู้มีบทบาทหลักเพื่อร่วมกันสร้างคุณค่าของระบบนิเวศ รวมถึงขอบเขต และบทบาทของผู้มีส่วนร่วม, พลวัตของวิวัฒนาการ เพื่อพัฒนาความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ซับซ้อนและเชื่อมโยงกัน
Business ecosystems: a structure to commercialize value chain of rural economies in developing areas
81
นำเสนอต้นแบบระบบนิเวศทางธุรกิจ 2 รูปแบบในอุตสาหกรรมผลิตน้ำผึ้ง ได้แก่ รูปแบบที่ยึดการประกอบการเป็นศูนย์กลาง ซึ่งจะเน้นไปที่การให้บริษัทเป็นผู้นำในการประสานงานกิจกรรมต่างๆ และรูปแบบที่มีชุมชนเป็นศูนย์กลาง ที่เน้นความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่หลากหลาย ต้นแบบระบบนิเวศทางธุรกิจเหล่านี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ไขปัญหาที่เศรษฐกิจที่ชนบทกำลังเผชิญอยู่ อาทิ การเข้าถึงตลาด, ทรัพยากร และเทคโนโลยีที่จำกัด โดยการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรท้องถิ่นและการส่งเสริมด้านความร่วมมือ ผู้วิจัยเชื่อว่าต้นแบบเหล่านี้มีศักยภาพในการเพิ่มการพัฒนาชนบท ปรับปรุงการเข้าถึงตลาด และเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจสำหรับผู้ผลิตรายย่อยและการประกอบการในภูมิภาคที่กำลังพัฒนาได้ บทความนี้ยังอภิปรายถึงความสำคัญของการพัฒนาทักษะผู้ประกอบการ, การเข้าถึงบริการทางการเงินและธุรกิจ และการสนับสนุนนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงผลิตภาพในพื้นที่ชนบท นอกจากนี้ยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของการสร้างความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ ในห่วงโซ่คุณค่าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างผลประโยชน์ร่วมกัน
The state of social enterprise in South East Asia
80
นำเสนอภาพรวมที่ครอบคลุมเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของกิจการเพื่อสังคมใน 7 ประเทศ โดยมุ่งแก้ไขปัญหาทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่หลากหลายครอบคลุมหลากหลายภาคส่วนของเศรษฐกิจ บทความเน้นย้ำถึงบทบาทสำคัญของผู้หญิงและคนรุ่นใหม่ในการนำกิจการเหล่านี้ ทั้งยังศึกษากรอบนโยบาย, ระบบนิเวศสนับสนุน และความต้องการทางการเงินของกิจการเพื่อสังคมในแต่ละประเทศ, การเติบโต, ความท้าทาย และศักยภาพในการพัฒนาในอนาคต โดยพบว่ากิจการเพื่อสังคมมีบทบาทสำคัญในการเติมเต็มช่องว่างในการบริการจัดการเชิงสาธารณะของทางรัฐ และเป็นทางเลือกที่มีต้นทุนไม่สูงมากสำหรับภาคเอกชน นอกจากนี้ยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยเพื่อส่งเสริมการเติบโตของกิจการเพื่อสังคมในภูมิภาคนี้
The Contribution of Micro-enterprises to Economic Recovery and Poverty Alleviation in East Asia
79
วิเคราะห์ศักยภาพของวิสาหกิจขนาดย่อม และการเงินระดับจุลภาคในการพัฒนาภูมิภาค, การสร้างรายได้, การจ้างงาน, ความหลากหลาย, ข้อจำกัดในการเติบโตฟื้นฟูเศรษฐกิจ และบรรเทาความยากจนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกหลังวิกฤตปี 2540 โดยอภิปรายแนวทางการส่งเสริมทั้งแบบยังชีพ และแบบมุ่งเน้นการเติบโต และพูดถึงการยอมรับที่เพิ่มขึ้นว่าการเงินระดับจุลภาคมีส่วนช่วยในการลดความยากจนและการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ บทความยังอภิปรายถึงความท้าทายที่วิสาหกิจขนาดย่อมต้องเผชิญ เช่น การเข้าถึงแหล่งเงินทุน, เทคโนโลยี และการตลาด รวมถึงนโยบายและกลยุทธ์ที่จำเป็นในการสนับสนุนการพัฒนาของธุรกิจเหล่านี้ เพื่อเสริมสร้างบทบาทของพวกเขาในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและการลดความยากจนในเอเชียตะวันออก
THE VALUE OF NETWORKS IN ENTERPRISE DEVELOPMENT: CASE STUDIES IN EASTERN EUROPE AND SOUTHEAST ASIA
78
ศึกษาบทบาทของการสร้างเครือข่ายต่อการพัฒนาวิสาหกิจ จากกรณีศึกษาในยุโรปตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บทความพูดถึงตัวอย่างของความร่วมมือด้านสินเชื่อรายย่อยเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและการบรรเทาความยากจนในประเทศที่กำลังพัฒนา 2 ตัวอย่างด้วยกัน ได้แก่ กรณีศึกษาความร่วมมือด้านโครงสร้างไมโครไฟแนนซ์ในบังกลาเทศ และกรณีศึกษาความร่วมมือเชิงสถาบันไมโครไฟแนนซ์ในฟิลิปปินส์ บทความได้เน้นย้ำว่าเครือข่าย และทุนทางสังคมเป็นปัจจัยสำคัญในการเริ่มต้นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะสำหรับผู้ประกอบการที่เป็นผู้อพยพ บทความยังเน้นให้เห็นถึงคุณค่าของแนวทางการทำงานร่วมกันในการส่งเสริมการประกอบการและการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเหล่านี้ โดยวิเคราะห์กรณีศึกษาต่างๆ นอกจากนี้ ยังอภิปรายถึงความสำคัญของการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือในการพัฒนาวิสาหกิจขนาดเล็ก โดยเฉพาะในบริบทของประเทศกำลังพัฒนา การศึกษานี้ให้ข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณค่าสำหรับผู้กำหนดนโยบายและผู้ปฏิบัติงานในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและการส่งเสริมผู้ประกอบการ
Small Medium, and Micro Enterprise and local economic-base restructuring – a South African local government perspective
76
ศึกษาบทบาทของวิสาหกิจขนาดเล็ก, ขนาดกลาง และขนาดย่อม (SMMEs) ในการปรับโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจท้องถิ่นของแอฟริกาใต้ โดยเสนอแนวคิดที่ว่า SMMEs มีส่วนสำคัญต่อกลยุทธ์ในการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น และมีศักยภาพในการลดความไม่เท่าเทียมกันเชิงพื้นที่ระหว่างเมืองและชุมชน บทความยังเสนออีกว่าการพัฒนา SMME ที่เหมาะสมจะช่วยเร่งการปรับโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจท้องถิ่นได้ดีขึ้น อย่างไรก็ดีการพัฒนาดังกล่าวจะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพหากได้รับการสนับสนุนที่เหมาะสม และเพียงพอจากหน่วยงานเทศบาลท้องถิ่น บทความยังเน้นย้ำถึงศักยภาพของ SMMEs ในการลดการว่างงาน, สร้างรายได้, พัฒนาทักษะ, ลดอาชญากรรม และดึงดูดการลงทุน ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการปรับโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจท้องถิ่น
ENTREPRENEURIAL RESILIENCE, OPPORTUNITY CONNECTEDNESS AND ENTERPRISE GROWTH OF SMALL & MEDIUM ENTERPRISES (SMES) IN PLATEAU STATE
75
ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความหยืดหยุ่นของผู้ประกอบการ, โอกาสด้านเครือข่าย และการเติบโตขององค์กรของ SMEs ในรัฐ Plateau โดยพบว่าปัจจัยทั้ง 3 มีอิทธิพลเชิงบวกซึ่งกันและกัน งานวิจัยยังเน้นย้ำว่าผู้ประกอบการควรพัฒนาความสามารถในการปรับตัว และความหยืดหยุ่นในการดำเนินธุรกิจ โดยต้องมีความกระตือรือร้นและพร้อมที่จะปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจอยู่เสมอ และเปิดรับความคิดเชิงกลยุทธ์ทางธุรกิจซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงทางธุรกิจได้ นอกจากนั้นยังควรสร้าง และรักษาความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่หลากหลายซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง
The effect of entrepreneurial capacity on the SMES growth in Kigali City
73
ศึกษาผลกระทบของความสามาถในการประกอบการต่อการเติบโตของ SMEs ในพื้นที่เมืองคิกาลี และเขตกาซาโบ ร่วมกับนโยบาย และความสนุบสนุนต่างๆจากทางภาครัฐ งานวิจัยพบว่าผู้ประกอบการส่วนมากยังขาดความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ในด้านการบริหารธุรกิจ, การดูแลลูกค้า, การจัดการทางการเงิน, การผลิต ซึ่งเป็นปัจจัยที่นักวิจัยมองว่ามีผลต่อประสิทธิภาพในการประกอบการธุรกิจ และมองว่าการมีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่มาก และดีเพียงพอขะช่วยให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้ แม้จะได้รับอิทธิพลจากความท้าทายด้านการเงิน อาทิ สินเชื่อที่อยู่อาศัย, หลักทรัพย์ค้ำประกัน, ภาษี และค่าเช่าที่
Research on the Relationship Between Entrepreneur Human Capital and Entrepreneurial Performance
71
ระดับความสามารถ และความพยายามในการผลิตของการประกอบการธุรกิจมีผลอย่างมากต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจ งานวิจัยให้ความสำคัญอันดับแรกไปที่การจำแนกระดับความสามารถที่มีความแตกต่างและหลากหลาย ผ่านการสร้างแบบจำลองเพื่อคัดกรองข้อมูลต่างๆ การจำแนกนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการค้นหาผู้ประกอบการที่มีความพร้อม เพื่อให้การสนับสนุนที่เหมาะแก่ผู้ประกอบการเหล่านั้น จากนั้นงานวิจัยจึงให้ความสำคัญไปที่การใส่ความพยายามของผู้ประกอบการ ในมุมองของผลประโยชน์, สิทธิ์ในการควบคุม, ความจำเป็นของชื่อเสียง และกลไกการกำกับดูแล ในส่วนสุดท้ายของบทความจะว่าด้วยความสัมพนธ์ระหว่างความสามารถของผู้ประกอบการ และความพยายามในการผลิตของพวกเขา รวมถึงการเปลี่ยนแปลงซึ่งกันและกันภายใต้เงื่อนไขบางประการ