นวัตกรรมและการปรับใช้
(Innovation and Adoption)
> Local Innovation: การสร้างสรรค์นวัตกรรม ที่ตอบโจทย์ความต้องการของชุมชน และใช้ประโยชน์จากทรัพยากร
ที่มีอยู่ในชุมชน
> Technology adoption: การรับ/ปรับใช้เทคโนโลยี: การปรับตัวและนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาธุรกิจท้องถิ่นอย่างเหมาะสม
บทความงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
Influence of the entrepreneur's capacity in business performance
70
ศึกษาแบบจำลองเชิงทฤษฏีที่ว่าด้วยความสามารถ และอิทธิพลของผู้ประกอบการต่อการดำเนินงานของธุรกิจ โดยระบุปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้ประกอบการและ/หรือความสามารถที่ส่งผลต่อความสามารถของผู้ประกอบการ ทั้งปัจจัยภายใน อาทิ การฝึกอบรม, ประสบการณ์ และความมั่นใจ รวมถึงปัจจัยภายนอก อาทิ ความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม และการทำงานร่วมกับองค์กรต่างๆ งานวิจัยทำการศึกษษผ่านกรณีของบริษัทท่องเที่ยวในภูมิภาค Mar Menor (สเปน) โดยพบว่าความมั่นใจของผู้ประกอบการและความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญต่อผลการดำเนินงาน และความสำเร็จของธุรกิจการท่องเที่ยวมากที่สุด
Unlocking the potential of rural social enterprise
68
ธุรกิจเพื่อสังคมสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในชนบท โดยเน้นความเชื่อมโยงระหว่างความต้องการในชนบท และแนวทางแก้ไขที่เกิดขึ้นผ่านธุรกิจเพื่อสังคม โดยใช้การศึกษาเชิงสำรวจในพื้นที่ชนบทของสกอตแลนด์ ทั้งยังชี้ให้เห็นถึงบทบาทของธุรกิจเพื่อสังคมในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน, การให้บริการสาธารณะที่จำเป็น, การสร้างความสามัคคีในชุมชน และการสร้างสินค้า/บริการที่ตรงกับความต้องการของชุมชน บทความได้เสนอให้ก้าวข้ามแนวทางการกำหนดนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม นอกจากนี้ยังกล่าวถึงความสำคัญของการทำงานร่วมกันระหว่างธุรกิจเพื่อสังคม และหน่วยงานสาธารณะเพื่อสร้างความเชื่อใจของคนในชุมชน และปลดล็อกศักยภาพของธุรกิจเพื่อสังคมในชนบทอย่างเต็มที่
Product Innovation in Small and Large Enterprises
67
ความแตกต่างในผลิตภัณฑ์เชิงนวัตกรรมระหว่างธุรกิจขนาดเล็กและขนาดใหญ่ อันมีปัจจัย ได้แก่ สภาพแวดล้อมในภูมิภาค, ลักษณะของการประกอบการ และเครือข่ายนวัตกรรมที่ธุรกิจนั้น ๆ เข้าร่วม ในกรณีของธุรกิจขนาดเล็ก การศึกษาจะเน้นไปที่ความสำคัญของเครือข่ายท้องถิ่นและการมีปฏิสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้มีบทบาทในภูมิภาค ซึ่งสามารถช่วยให้การปรับตัวและการดำเนินงานนวัตกรรมเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ธุรกิจขนาดเล็กมักพึ่งพาโครงสร้างที่ยืดหยุ่นและการมีส่วนร่วมส่วนตัวที่สูงของเจ้าของ ซึ่งอาจนำไปสู่นวัตกรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และตอบสนองความต้องการได้อย่างจำเฉพาะเจาะจง อย่างไรก็ตามก็อาจต้องเผชิญกับความท้าทาย เช่น ทรัพยากรที่จำกัด และการเข้าถึงตลาดที่จำกัด ในทางกลับกัน ธุรกิจขนาดใหญ่ได้รับประโยชน์จากทรัพยากรที่มากกว่า กระบวนการวิจัยและพัฒนาที่เป็นระบบ และความสามารถในการใช้ประโยชน์จากการผลิตจำนวนมาก เน้นการต่อยอดผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้ว จุดแข็งของธุรกิจขนาดใหญ่คือ สามารถเข้าถึงตลาดระหว่างประเทศ และได้รับการสนับสนุนทางการเงินที่แข็งแกร่งกว่า อย่างไรก็ตาม การสร้างสรรค์นวัตกรรมของพวกเขาอาจช้ากว่า เนื่องจากข้อจำกัดทางการบริหารและความซับซ้อนในการจัดการองค์กรขนาดใหญ่
Local culture as a context for entrepreneurial activities
66
ศึกษา industrial legacy มีอิทธิพลต่อการสร้างวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างไร และวัฒนธรรมเหล่านั้น มีบทบาทอย่างไรในการสนับสนุนกิจกรรมผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมใหม่ๆ โดยเน้นความสำคัญของวัฒนธรรมในฐานะปัจจัยขับเคลื่อนผู้ประกอบการ และการเติบโตทางเศรษฐกิจ งานวิจัยนี้ใช้กรณีศึกษาเชิงคุณภาพจากเมืองในสวีเดนที่มีความแตกต่างกันจำนวน 2 แห่ง โดยระบุปัจจัยสำคัญ 4 ประการที่มีส่วนในการสร้างวัฒนธรรมท้องถิ่น ได้แก่ สภาวการณ์ตั้งต้น, ลักษณะของผู้มีบทบาทหลัก, กิจกรรมเครือข่าย และองค์ประกอบของผู้มาใหม่ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นแนวทางของผู้ประกอบการท้องถิ่นว่าต้องปรับตัวอย่างไรต่อบริบททางวัฒนธรรมของตน และยังชี้ให้เห็นว่าการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ๆเป็นผลมาจากการผสมผสานปัจจัยภายนอก และมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่น
Social enterprise as a model for change: mapping a global cross-disciplinary framework
61
บทบาทของภาคการศึกษาในทุททองของการส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม และการสร้างผู้ประกอบการ โดยการนำเสนอแนวคิดเรื่อง “ธุรกิจเพื่อสังคม” ทั้งในด้านของการศึกษา, การฝึกอบรม และการมีส่วนร่วม การศึกษายกกรณีของการประกอบการในอินเดีย และสหราชอาณาจักร เพื่อแสดงให้เห็นถึงผลกระทบของธุรกิจเพื่อสังคมต่อความไม่เท่าเทียมทางสังคมและปัญหาสิ่งแวดล้อม มีเป้าหมายหลักเพื่อพัฒนาวิชาธุรกิจเพื่อสังคม และสนับสนุนการวิจัยเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องเพื่อความยั่งยืน ทั้งยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง และการสร้างความตระหนักรู้ของสาธารณะเกี่ยวกับแนวคิดของธุรกิจเพื่อสังคมเพื่อให้สังคมยอมรับและเข้าใจความรู้ที่มีประโยชน์ในด้านนี้
Local capacity, innovative entrepreneurial places and global connections: an overview
55
ผลกระทบของโลกาภิวัตน์ต่อการยกระดับเทคโนโลยีและนวัตกรรมในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ โดยเน้นความสำคัญของการเชื่อมโยงระหว่างระดับท้องถิ่นและระดับสากล ทั้งการส่งเสริมผู้ประกอบการท้องถิ่นผ่านการวิจัยตลาด, R&D, การสนับสนุนด้านการเงิน, การจัดการธุรกิจ, การสร้างแบรนด์ และการเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการ ทั้งยังเน้นย้ำเรื่องการรับ/ปรับใช้เทคโนโลยีจากห่วงโซ่คุณค่าในระดับสากลให้เหมาะสมกับระดับท้องถิ่น และการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมกับการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้
Entrepreneurial Capacities and Knowledge Development Processes – insights from a research project
54
แนวทางในการเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบการ และกระบวนการพัฒนาความรู้ในธุรกิจท้องถิ่นภูมิภาคยุโรป โดยสำรวจว่าองค์กรเหล่านี้มีการสร้าง และใช้ทักษะการประกอบการอย่างไร ในมุมมองของการวิจัยตลาด, การวิจัยและพัฒนา, การบริหารการเงิน, การจัดการธุรกิจ, การสร้างแบรนด์ และความสามารถในการประกอบการโดยรวม ทั้งยังรวมไปถึงความสามารถส่วนบุคคลที่จำเป็นต่อการประกอบการ อาทิ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ, ความรู้ทางเทคนิค, ความสามารถในการแก้ปัญหา, ความสามารถด้านความสัมพันธ์และการสื่อสาร และการทำงานเป็นทีม การศึกษาชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนให้เกิดนวัตกรรม และความร่วมมือระหว่างธุรกิจท้องถิ่น โดยผ่านกรณีศึกษา และข้อมูลเชิงประจักษ์ต่างๆ มุ่งเน้นปัจจัยสำคัญที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาขีดความสามารถทางการประกอบการ และกระบวนการพัฒนาความรู้ที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพในการเสริมสร้างการเติบโตและความยั่งยืนของธุรกิจท้องถิ่นผ่านการศึกษา และการฝึกอบรมเพื่อการเปลี่ยนผ่านเชิงปฏิบัติจากแนวคิดไปสู่การตระหนักรู้
A new value-added strategy for the US beef industry: The case of US Premium Beef Ltd
52
ศึกษากลยุทธ์ US Premium Beef Ltd (USPB) ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์เนื้อวัวในตลาดสหรัฐฯ โดยเน้นที่การนำแนวปฏิบัติเชิงนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตจนถึงการตลาด เพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์มีความแตกต่าง ซึ่งรวมถึงการใช้แนวทางการบูรณาการในแนวดิ่งเพื่อควบคุมคุณภาพ ตั้งแต่การเลี้ยงวัวจนถึงการแปรรูป และการกระจายสินค้า กลยุทธ์ดังกล่าวประกอบด้วย การร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับเกษตรกร, การนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้เพื่อการตรวจสอบย้อนกลับ, การประกันคุณภาพ, การให้ความสำคัญกับการสร้างแบรนด์ และการมีส่วนร่วมของผู้บริโภค โดยเชื่อว่าปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อความสามารถในการแข่งขัน และการทำกำไรในอุตสาหกรรมการผลิตเนื้อวัว
Adoption of circular economy practices in small and medium-sized enterprises: Evidence from Europe
48
ศึกษาการนำหลักปฏิบัติของเศรษฐกิจหมุนเวียน (CE) มาใช้ในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ทั่วยุโรป โดยเน้นย้ำถึงกลยุทธ์ต่างๆ ที่องค์กรเหล่านี้นำมาใช้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากร, การลดของเสีย และการบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน การศึกษานี้ยังกล่าวถึงปัจจัย และอุปสรรคในการนำแนวคิด CE มาใช้จริง รวมถึงแรงกดดันด้านกฎระเบียบ, ความต้องการของตลาด และการสร้างสรรค์นวัตกรรม พร้อมทั้งนำเสนอกรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จและบทเรียนที่ได้รับจากประเทศต่างๆ ในยุโรป พร้อมสรุปคำแนะนำสำหรับผู้กำหนดนโยบายและผู้นำทางธุรกิจเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนในภาค SME
Marketing support of competitiveness of agricultural enterprises
44
สำรวจความสำคัญของการตลาดทางการเกษตรในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการทางการเกษตร โดยตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและทำความเข้าใจลักษณะของกิจกรรมทางการเกษตร ในบทความยังเน้นย้ำว่าการพัฒนาการเกษตรที่ยั่งยืน มีส่วนทำให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม, ภาพลักษณ์ของประเทศ, คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น, ศักยภาพในการส่งออก, ความสมดุลทางนิเวศวิทยา และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ อย่างไรก็ดีการศึกษาวิจัยด้านการตลาดในภาคเกษตรกรรม มักดำเนินการโดยพ่อค้าคนกลางเป็นหลัก ซึ่งทำให้เกิดการกระจุกตัวของรายได้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการทางการเกษตรจะต้องดำเนินการวิจัยด้านการตลาด, วิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขัน และทำการตัดสินใจอย่างเหมาะสมภายใต้ข้อมูลที่มีอยู่
The importance of research and development in strengthening the enterprise competitiveness
43
ศึกษาบทบาทความสำคัญของการวิจัย และพัฒนาในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของการประกอบการในภูมิภาคการวางแผนตะวันออกเฉียงเหนือของบัลแกเรีย โดยมองว่าการวิจัยและพัฒนามีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันทางธุรกิจ อาทิ การสร้างนวัตกรรม, การถ่ายทอดเทคโนโลยี, การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการทางธุรกิจ และการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในท้องถิ่น รวมไปถึงการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจและความยั่งยืน โดยพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนากับผลการดำเนินงานของธุรกิจ
Measuring User Engagement in an Enterprise Gamified System
42
ศึกษาวิธีการชี้วัดการมีส่วนร่วมของพนักงานอย่างมีประสิทธิภาพ ในการใช้งานระบบ Gamification ขององค์กร ซึ่งมีเป้าหมายที่จะเพิ่มการมีส่วนร่วมของพนักงานในงานที่เกี่ยวข้องผ่านองค์ประกอบของเกม เช่น การแบ่งปันความรู้, การเพิ่มประสิทธิภาพด้านการขาย, การนำเสนอควาทคิดสร้างสรรค์ และการฝึกอบรม ในการศึกษาครั้งนี้มีความท้าทายค่อนข้างมากในด้านระเบียบวิธีวิจัยเนื่องจากยังไม่มีระเบียบแบบแผนที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน อย่าฃไรก็ดีนักวิจัยพยายามตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างพลวัตของเกมและการมีส่วนร่วมของพนักงาน โดยสำรวจว่าองค์ประกอบเกมที่แตกต่างกันมีผลต่อการมีส่วนร่วมของพนักงานอย่างไร