top of page
newbg15-13.jpg

รวมบทความวิจัยที่เกี่ยวกับ

นวัตกรรม
และการปรับใช้

(Innovation and Adoption)

IMG_8077.JPG

นวัตกรรมและการปรับใช้

(Innovation and Adoption)

> Local Innovation: การสร้างสรรค์นวัตกรรม ที่ตอบโจทย์ความต้องการของชุมชน และใช้ประโยชน์จากทรัพยากร

ที่มีอยู่ในชุมชน

> Technology adoption: การรับ/ปรับใช้เทคโนโลยี: การปรับตัวและนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาธุรกิจท้องถิ่นอย่างเหมาะสม

DSC00445.JPG
DSC08496.JPG
DSC06085.JPG

บทความงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

Business research for sustainable development: How does sustainable business model research reflect doughnut economics?

97

ศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างต้นแบบ “ธุรกิจแบบยั่งยืน (SBM)” และทฤษฎี “เศรษฐศาสตร์โดนัท (DE)” เพื่อขยาย และบูรณาการองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาต้นแบบธุรกิจแบบยั่งยืนร่วมกับการนำหลักการของเศรษฐศาสตร์โดนัทไปใช้ในบริบทของธุรกิจ นักวิจัยเลือกใช้หลักการทั้ง 7 ของ DE ในการวิเคราะห์เพื่อสะท้อนต้นแบบธุรกิจจำนวน 23 ต้นแบบ เพื่อพัฒนากรอบแนวคิดโดยอิงพื้นฐานองค์ความรู้วิทยาศาสตร์เชิง cognitive โดยแบ่งย่อยการศึกษาออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1. การศึกษากรอบแนวคิดเพื่อช่วยเพิ่มความเข้าใจในทฤษฎีทั้งแนวคิด SBM และ DE 2. การศึกษาแนวทางเฉพาะในการศึกษาต้นแบบ SBM จำนวน 7 แบบ 3. ศึกษาศักยภาพในการสร้างแนวปฏิบัติเชิงนวัตกรรมของ SBM

Read More

The quest for the entrepreneurial culture: psychological Big Data in entrepreneurship research

95

ศึกษาศักยภาพในการใช้ Big Data และ Artificial intelligence ในการศึกษาข้อมูลด้านวัฒนธรรม และบุคลิกภาพของผู้ประกอบการในระดับภูมิภาค นักวิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะจาก Twitter โดยเชื่อว่าวิธีการดังกล่าวสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับคุณลักษณะ, กิจกรรม และวัฒนธรรมของผู้ประกอบการในท้องถิ่นระดับภูมิภาคที่เทียบเท่ากับการศึกษาโดยการใช้แบบทดสอบบุคลิกภาพหลายล้านชุดได้ นักวิจัยยังนำเสนอการใช้ต้นแบบ machine learning ในการจัดการกับข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์ที่มีขนาดใหญ่ โดยมองว่าเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพ, ช่วยลดต้นทุน และสามารถขยายผลได้ดีกว่าการเก็บข้อมูลแบบเดิม

Read More

Inclusive finance for inclusive growth and development

93

ศึกษาบทบาทของ inclusive finance ในการส่งเสริมการเติบโตและการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม นักวิจัยนำเสนอแนวคิดที่ว่าการเงินในรูปแบบดังกล่าวช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการเงิน, ความเท่าเทียมทางการเงินได้, การลดความยากจน และความเหลื่อมล้ำ นอกจากนี้นักวิจัยยังได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมในประเด็นของผลกระทบจากการเข้าถึงการบริการทางการเงินต่อความสามารถในการส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ, ลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ และปรับปรุงสวัสดิการ อาทิ การใช้ mobile banking, สินเชื่อรายย่อย และโครงการให้ความรู้ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและผู้ด้อยโอกาส เพื่อสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและครอบคลุม

Read More

Innovation for Inclusive Growth: Towards a Theoretical Framework and a Research Agenda

92

ศึกษาแนวคิดเรื่องนวัตกรรมแบบมีส่วนร่วม (Inclusive innovation) โดยให้นิยามว่า คือ นวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ด้อยโอกาส ว่ามีผลต่อการจัดการกับความไม่เท่าเทียม และการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน, การนำไปใช้เชิงพาณิชย์ และการสร้างมูลค่าได้อย่างไร โดยนำเสนอมุมมองใหม่ที่เชื่อมโยงแนวคิดด้านนวัตกรรมเข้ากับเป้าหมายทางสังคมและเศรษฐกิจ ผ่านการเสนอกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี พร้อมทั้งมองว่าควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในด้านกลยุทธ์, การประกอบการ และการตลาด และเชื่อว่าแนวคิดดังกล่าวมีศักยภาพในการสร้างความเป็นอยู่ทางสังคม และเศรษฐกิจในชุมชนที่ดีขึ้นได้ และกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมในการวิจัยนวัตกรรมทางสังคมเพื่อส่งเสริมการเติบโตอย่างมีส่วนร่วม

Read More

Sustainable innovation, business models and economic performance: an overview

86

ศึกษาวิธีการผสมผสานนวัตกรรมเข้ากับโมเดลธุรกิจแบบยั่งยืนเพื่อความสำเร็จทางเศรษฐศาสตร์ ผ่านการมองภาพรวมของนวัตกรรม, โมเดลธุรกิจ และประสิทธิภาพเชิงเศรษฐศาสตร์ ในขณะเดียวกันยังมองถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม นักวิจัยได้ทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโมเดลธุรกิจแบบยั่งยืน, กระบวนการนวัตกรรม และตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการสร้างระบบในการพิจารณาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีอยู่หลายฝ่าย และการสร้างคุณค่าในมิติเชิงเศรษฐศาสตร์, สิ่งแวดล้อม และสังคม ทั้งยังกล่าวถึงความสำคัญในการวิจัยพร้อมทั้งเสนอแนวทางสำหรับการพัฒนาความเข้าใจในต้นแบบนวัตกรรมธุรกิจแบบยั่งยืน, ผลกระทบต่อผลการดำเนินงานขององค์กร และผลลัพธ์ด้านความยั่งยืน รวมไปถึงความท้าทายในการนำแนวคิดนี้ไปปฏิบัติ และเสนอแนะแนวทางสำหรับการวิจัยในอนาคตเพื่อขยายองค์ความรู้ในด้านนี้ต่อไป

Read More

Integrated business model for sustainability of small and medium-sized enterprises in the food industry : Creating value added through ecodesign

85

นำเสนอโมเดลธุรกิจแบบบูรณาการเพื่อความยั่งยืนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในภาคอุตสาหกรรมอาหาร โดยใช้แนวคิดการออกแบบเชิงนิเวศ (ecodesign) โดยรวมการออกแบบเชิงนิเวศทั้งในด้านอุตสาหกรรม และการปรับใช้ให้เข้ากับบริบท และเศรษฐกิจสังคมของกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งสะท้อนผ่านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR) และการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผ่าน การบูรณาการเครื่องมือด้านสิ่งแวดล้อม, สังคม และเศรษฐกิจ อาทิ การประเมินวงจรชีวิต, เมทริกซ์ MET และการติดฉลากสิ่งแวดล้อม นักวิจัยมองว่าแนวทางดังกล่าวมีส่วนช่วยให้สามารถปรับปรุงทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมและโครงสร้างต้นทุนได้พร้อมกัน นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพ, ฟังก์ชันการใช้งาน และความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ ทั้งยังมีส่วนช่วยในการสร้างมูลค่าเพิ่มในมิติที่หลากหลายให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบนอกจากนี้ ยังระบุแนวทางปฏิบัติสำหรับ SMEs ในการปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจและการผลิตเชิงนิเวศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรและฟังก์ชันของผลิตภัณฑ์ไปพร้อมกัน

Read More

Ecosystem management: Past achievements and future promises

83

ศึกษาวิวัฒนาการของการจัดการระบบนิเวศในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา โดยเน้นถึงมุมมองด้านความสำเร็จและศักยภาพในอนาคต ในการศึกษาได้ทำการวิเคราะห์การพัฒนาแนวคิด, ความท้าทายในการนำไปปฏิบัติ และตัวอย่างความสำเร็จในหลากหลายภาคส่วน รวมทั้งยังอธิบายว่าการจัดการระบบนิเวศมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างไร นอกจากนี้ บทความยังสำรวจแนวโน้มและโอกาสที่อาจเกิดขึ้นใหม่สำหรับการจัดการระบบนิเวศ รวมถึงการบูรณาการเทคโนโลยี และบทบาทในการจัดการกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมระดับโลก โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญในความพยายามด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ, การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม, การพัฒนาที่ยั่งยืน และการอนุรักษ์อย่างต่อเนื่อง

Read More

A review of the ecosystem concept — Towards coherent ecosystem design

82

แนวคิดเรื่องระบบนิเวศ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำความเข้าใจคำจำกัดความ และเสนอแนะการออกแบบระบบนิเวศที่สอดคล้องกันสำหรับการวิจัยในอนาคต ผ่านการวิเคราะห์บทความ และทำการแบ่งรูปแบบของระบบนิเวศออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ระบบนิเวศทางธุรกิจ, นวัตกรรม, แพลตฟอร์ม และการประกอบการ พวกเขาเน้นย้ำถึงต้นกำเนิดของแนวคิดในนิเวศวิทยาและวิวัฒนาการในด้านการจัดการ จากการศึกษาพบว่าคำจำกัดความของระบบนิเวศยังมีส่วนที่การขาดความสอดคล้องระหว่างกันอยู่ ด้วยเหตุนี้นักวิจัยจึงได้นำเสนอคำจำกัดความที่เป็นเอกภาพของระบบนิเวศ โดยมองว่าเป็นเครือข่ายของผู้มีส่วนร่วมที่พึ่งพาอาศัยกัน โดยมีทรัพยากร, ความสามารถ และเทคโนโลยีที่เสริมกัน รวมถึงการมีส่วนร่วมของผู้มีบทบาทหลักเพื่อร่วมกันสร้างคุณค่าของระบบนิเวศ รวมถึงขอบเขต และบทบาทของผู้มีส่วนร่วม, พลวัตของวิวัฒนาการ เพื่อพัฒนาความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ซับซ้อนและเชื่อมโยงกัน

Read More

Best Policy Practices in Small and MediumSized Enterprise Innovation and Technology Transfers for ASEAN and East Asia

77

ศึกษาแนวทางในการกำหนดนโยบายด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก โดยแบ่งนโยบายเป็นสามกลุ่ม ได้แก่ นโยบายด้านอุปทาน, อุปสงค์ และเชิงระบบ พร้อมอภิปรายข้อดีและข้อเสียของแต่ละกลุ่ม บทความได้ทำการสรุปบทเรียนจากกรณีศึกษาในไต้หวัน, สิงคโปร์, มาเลเซีย และไทย โดยเน้นบทเรียนสำคัญในการปรับนโยบายให้เหมาะกับความสามารถทางเทคโนโลยีของแต่ละธุรกิจ โดยยังรักษาความยืดหยุ่นในการดำเนินนโยบาย และการสนับสนุนจากรัฐบาลอย่างเพียงพอ นอกจากนี้ยังเน้นถึงความจำเป็นที่ผู้กำหนดนโยบายต้องเข้าใจในเรื่องของนวัตกรรมและระบบที่เกี่ยวข้อง โดยชี้ให้เห็นว่าการสนับสนุนเชิงนสัตกรรมทางการเงินที่ประสบความสำเร็จต้องมีนโยบายเสริมอื่นๆ ร่วมด้วย และเน้นย้ำบทบาทของปัจจัยเชิงสถาบันในการกำหนดทางเลือกและการดำเนินนโยบาย

Read More

ENTREPRENEURIAL RESILIENCE, OPPORTUNITY CONNECTEDNESS AND ENTERPRISE GROWTH OF SMALL & MEDIUM ENTERPRISES (SMES) IN PLATEAU STATE

75

ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความหยืดหยุ่นของผู้ประกอบการ, โอกาสด้านเครือข่าย และการเติบโตขององค์กรของ SMEs ในรัฐ Plateau โดยพบว่าปัจจัยทั้ง 3 มีอิทธิพลเชิงบวกซึ่งกันและกัน งานวิจัยยังเน้นย้ำว่าผู้ประกอบการควรพัฒนาความสามารถในการปรับตัว และความหยืดหยุ่นในการดำเนินธุรกิจ โดยต้องมีความกระตือรือร้นและพร้อมที่จะปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจอยู่เสมอ และเปิดรับความคิดเชิงกลยุทธ์ทางธุรกิจซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงทางธุรกิจได้ นอกจากนั้นยังควรสร้าง และรักษาความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่หลากหลายซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง

Read More

A resilient Startup Leader's personal journey: The role of entrepreneurial mindfulness and ambidextrous leadership through scaling-up performance capacity

72

นำเสนอแนวคิดเรื่องความยืดหยุ่นของผู้ประกอบการ โดยมองว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการก้าวข้ามความท้าทายในการขยายขนาดของธุรกิจ การวิจัยมุ่งเป้าไปที่การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความตระหนักรู้ และทักษะที่หลากหลายของผู้ประกอบการต่อความศักยภาพ และยืดหยุ่นในการขยายขนาดธุรกิจ ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าความตระหนักรู้ของผู้ประกอบการมีผลต่อการตัดสินใจ, การจัดการความเสี่ยง และการปรับตัวเชิงกลยุทธ์ ส่วนทักษะที่หลากหลายของผู้ประกอบการมีผลต่อการสำรวจโอกาสใหม่ๆ, การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ และความสามารถในการปรับตัวในสภาพแวดล้อมที่ไม่แน่นอน ซึ่งจะช่วยให้สามารถขยายขนาดของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ, ยืดหยุ่น และเติบโตอย่างยั่งยืน

Read More

Research on the Relationship Between Entrepreneur Human Capital and Entrepreneurial Performance

71

ระดับความสามารถ และความพยายามในการผลิตของการประกอบการธุรกิจมีผลอย่างมากต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจ งานวิจัยให้ความสำคัญอันดับแรกไปที่การจำแนกระดับความสามารถที่มีความแตกต่างและหลากหลาย ผ่านการสร้างแบบจำลองเพื่อคัดกรองข้อมูลต่างๆ การจำแนกนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการค้นหาผู้ประกอบการที่มีความพร้อม เพื่อให้การสนับสนุนที่เหมาะแก่ผู้ประกอบการเหล่านั้น จากนั้นงานวิจัยจึงให้ความสำคัญไปที่การใส่ความพยายามของผู้ประกอบการ ในมุมองของผลประโยชน์, สิทธิ์ในการควบคุม, ความจำเป็นของชื่อเสียง และกลไกการกำกับดูแล ในส่วนสุดท้ายของบทความจะว่าด้วยความสัมพนธ์ระหว่างความสามารถของผู้ประกอบการ และความพยายามในการผลิตของพวกเขา รวมถึงการเปลี่ยนแปลงซึ่งกันและกันภายใต้เงื่อนไขบางประการ

Read More
bottom of page