top of page
DSC00126.JPG

รวมบทความวิจัยที่เกี่ยวกับ

วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

(Cultural and Local wisdom)

DSC02873.JPG

วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

(Cultural and Local wisdom)

> Cultural diversity: การศึกษา เข้าใจ ส่งเสริม และยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมภายในชุมชน

> Local wisdom and identity: การสืบสาน, ส่งเสริม, อนุรักษ์ ภูมิปัญญา และอัตลักษณ์ของท้องถิ่น

DSC05065.JPG
DSC07118.JPG
DSC05572.JPG

บทความงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

Strategies for regenerative business

99

แนวคิดเรื่อง “regenerative business” โดยนักวิจัยเชื่อว่าแนวคิดดังกล่าวมีความสำคัญต่อการสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจ นักวิจัยให้เหตุผลว่าแนวคิดดังกล่าวสามารถช่วยลดของด้อยของการทำธุรกิจแบบเดิมซึ่งมักมองข้ามระบบนิเวศวิทยาสังคมนำไปสู่ความเสื่อมโทรมทางนิเวศวิทยา และความท้าทายทางสังคมได้ แนวคิดดังกล่าวเป็นการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมกับระบบนิเวศวิทยาสังคมทั้ง “การฟื้นฟู-รักษา-เสริมสร้าง” โดยอยู่บนพื้นฐานของหลักการสำคัญ 2 ประการ ได้แก่ ระบบที่ขึ้นกับระดับของความปรารถนา และแนวทางการจัดการการปรับเปลี่ยนเพื่อการฟื้นฟูแนวคิดนี้เป็นแนวคิดใหม่เพื่อสร้างพื้นฐานความยั่งยืนทางธุรกิจ ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจสามารถก้าวไปไกลกว่าเดิม และช่วยลดความเสียหายต่อระบบนิเวศวิทยาสังคม

Read More

The role, organisation and contribution of community enterprise to urban regeneration policy in the UK

98

ศึกษาบทบาทขององค์กรวิสาหกิจชุมชนที่ก่อตั้งขึ้นภายในชุมชนท้องถิ่น ในการมีส่วนร่วมในกลยุทธ์การฟื้นฟู, การพัฒนาชุมชน, การสร้างทุนทางสังคม และการส่งเสริมประชาสังคมในประเทศอังกฤษ และเวลส์ สหราชอาณาจักร พร้อมทั้งทำการศึกษาเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆร่วมด้วย โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้นักวิจัยยังได้พยายามหาคำตอบของประเด็นคำถามที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการองค์กรดังกล่าว ในมิติของขอบเขตการมีส่วนร่วมในกลยุทธ์การฟื้นฟูท้องถิ่น และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น, ความหลากหลายของผู้มีส่วนร่วม, ระดับของผลปะรโยชน์ที่ได้รับ โดยเฉพาะการได้มา และการจัดการสินทรัพย์

Read More

Can Tourism Promote Inclusive Growth? Supply Chains, Ownership and Employment in Ha Long Bay, Vietnam

94

การท่องเที่ยวจะสามารถสร้างการเติบโตแบบมีส่วนร่วมได้ในระยะสั้น และกลางหรือไม่ ในการศึกษา นักวิจัยทำการวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทาน, การเชื่อมโยง และการรั่วไหลทางเศรษฐกิจ, ความเป็นเจ้าของ, การจ้างงาน และค่าใช้จ่ายในภาคการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นภาคส่วนที่สำคัญสำหรับประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศ กรณีศึกษาในอ่าวฮาลองของประเทศเวียดนาม โดยพบว่าแม้การท่องเที่ยวจะพัฒนาอย่างรวดเร็วในพื้นที่ และให้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจบางส่วนแก่ชุมชนท้องถิ่น แต่ดูเหมือนว่าการพัฒนาดังกล่าวจะยังไม่สามารถนับว่าเกิดการเติบโตแบบมีส่วนร่วมได้ และดูเหมือนว่าจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในอนาคตอันใกล้อย่างไรก็ตามนักวิจัยได้นำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่เกี่ยวกับความท้าทาย และโอกาสในการส่งเสริมการเติบโตอย่างมีส่วนร่วมผ่านการท่องเที่ยว โดยเน้นความสำคัญของการพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ เช่น การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น, การกระจายผลประโยชน์ และความยั่งยืนในการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน

Read More

Inclusive growth and inclusive development: a review and synthesis of Asian Development Bank literature

91

บทวิเคราะห์ และสังเคราะห์จากองค์ความรู้ และงานวิจัยต่างๆ ของทาง Asian Development Bank (ADB) โดยมุ่งเน้นในเรื่องที่เกี่ยวกับการเติบโต และการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม แม้ว่าจะยังไม่มีคำจำกัดความที่เป็นที่ยอมรับร่วมกัน แต่โดยทั่วไปแล้วจะให้ความหมายถึง "การเติบโตแบบองค์รวมอย่างเท่าเทียมกัน" ทั้งในมิติทางเศรษฐกิจ, สังคม และสถาบัน ทาง ADB เองได้แนะนำมาตรการต่างๆ เพื่อให้สามารถบรรลุการเติบโตอย่างมีส่วนร่วม รวมถึงการส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน, การสร้างความเท่าเทียมทางการเมือง, การเสริมสร้างขีดความสามารถ และการสร้างโครงข่ายรองรับทางสังคม

Read More

Inclusive Growth in cities: a sympathetic critique

90

วิเคราะห์แนวคิด "การเติบโตอย่างมีส่วนร่วม" (Inclusive Growth) ในบริบทของเมืองอย่างละเอียด แม้ว่าผู้เขียนจะยอมรับถึงความสำคัญของแนวคิดนี้ในการเชื่อมโยงการพัฒนาเศรษฐกิจกับการกระจายผลประโยชน์ แต่ได้มีการตั้งข้อสังเกตว่าการเติบโตอย่างมีส่วนร่วมยังคงเป็นแนวคิดที่คลุมเครือ มักถูกนิยามอย่างไม่ชัดเจน และนำไปใช้อย่างไม่สม่ำเสมอ บทความยังชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมั่นที่มากเกินไปในความสามารถของรัฐบาลท้องถิ่นในการกระตุ้นและกำหนดรูปแบบการเติบโต รวมถึงกรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จก็ยังมีไม่มากพอ ผู้เขียนได้ให้ความเห็นว่าการเติบโตอย่างมีส่วนร่วมเป็นการพัฒนาที่ดีกว่าการมุ่งเน้นเฉพาะการเติบโตเพียงอย่างเดียว และเน้นย้ำถึงความจำเป็นของการมีส่วนร่วมจากรัฐบาล

Read More

Value chain approaches to assessing the impact of tourism on low-income households in developing countries

89

ศึกษาและประเมินศักยภาพของแนวคิดการท่องเที่ยวเพื่อลดความยากจน หรือ pro-poor tourism ที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นรอบๆแหล่งท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ผ่านการวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่า เพื่อดูการไหลเวียนของรายได้จากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวไปสู่ชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งรายได้ของแรงงานในธุรกิจที่พัก อย่างไรก็ตาม ยังมีการเน้นย้ำถึงความท้าทายในการเพิ่มประโยชน์เหล่านี้ให้สูงสุด และเสนอแนะกลยุทธ์ในการเพิ่มผลกระทบเชิงบวกของการพัฒนาการท่องเที่ยว บทความยังอภิปรายถึงข้อจำกัดของห่วงโซ่คุณค่า พร้อมทั้งเสนอแนะวิธีการที่ครอบคลุมมากขึ้นในการประเมินผล กระทบทางเศรษฐกิจของการท่องเที่ยวต่อชุมชน

Read More

Local tourism value chain linkages as pro-poor tools for regional development in western Uganda

87

ศึกษาบทบาทของการเชื่อมโยงห่วงโซ่คุณค่าการท่องเที่ยวท้องถิ่นในฐานะเครื่องมือสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาคและการลดความยากจนในภาคตะวันตกของยูกันดา โดยให้ข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณค่าสำหรับผู้กำหนดนโยบายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยมุ่งเน้นที่การเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานและความร่วมมือระหว่างชุมชน และธุรกิจท่องเที่ยว ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าลูกค้าในกลุ่มธุรกิจมีแนวโน้มที่จะรับสินค้าจากซัพพลายเออร์/คนกลาง มากกว่าผู้ผลิตท้องถิ่น เนื่องด้วยปัญหาด้านคุณภาพของสินค้าท้องถิ่นที่ไม่ได้มาตรฐาน และขาดความสม่ำเสมอ ซึ่งส่งผลต่อการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า และลดโอกาสทางการตลาด การศึกษานี้ยังเน้นย้ำถึงความท้าทายในการเชื่อมโยงระดับท้องถิ่นในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่มีประสิทธิภาพ และเสนอแนะว่าควรปรับปรุงความสม่ำเสมอและคุณภาพของสินค้าท้องถิ่น ซึ่งอาจช่วยเพิ่มโอกาสในการพัฒนาภูมิภาคผ่านความเชื่อมโยงที่แข็งแกร่งขึ้นระหว่างธุรกิจท่องเที่ยวและผู้ผลิตท้องถิ่น

Read More

Business Ecosystems as the Approach to Create Value and Appropriate Value for Small Firms in Emerging Markets

84

ศึกษาว่าระบบนิเวศทางธุรกิจสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการประกอบการขนาดเล็กในตลาดเกิดใหม่ได้อย่างไร โดยมองว่าประเด็นหลักที่ส่งผลมากที่สุดคือ การใช้ทรัพยากรร่วมกัน ผ่านการศึกษาตัวอย่างการ ใช้ระบบนิเวศทางธุรกิจในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารขนาดเล็กของแทนซาเนีย เพื่อเอาชนะข้อจำกัดด้านทรัพยากร และการสร้างมูลค่าเพิ่ม งานวิจัยยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของการทำงานร่วมกัน, การแบ่งปันทรัพยากร และผลกระทบของเครือข่ายในการช่วยให้การประกอบการขนาดเล็กสามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการที่ระบบนิเวศทางธุรกิจสามารถสนับสนุนการเติบโตและการพัฒนาของธุรกิจขนาดเล็กในบริบทของตลาดเกิดใหม่

Read More

A review of the ecosystem concept — Towards coherent ecosystem design

82

แนวคิดเรื่องระบบนิเวศ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำความเข้าใจคำจำกัดความ และเสนอแนะการออกแบบระบบนิเวศที่สอดคล้องกันสำหรับการวิจัยในอนาคต ผ่านการวิเคราะห์บทความ และทำการแบ่งรูปแบบของระบบนิเวศออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ระบบนิเวศทางธุรกิจ, นวัตกรรม, แพลตฟอร์ม และการประกอบการ พวกเขาเน้นย้ำถึงต้นกำเนิดของแนวคิดในนิเวศวิทยาและวิวัฒนาการในด้านการจัดการ จากการศึกษาพบว่าคำจำกัดความของระบบนิเวศยังมีส่วนที่การขาดความสอดคล้องระหว่างกันอยู่ ด้วยเหตุนี้นักวิจัยจึงได้นำเสนอคำจำกัดความที่เป็นเอกภาพของระบบนิเวศ โดยมองว่าเป็นเครือข่ายของผู้มีส่วนร่วมที่พึ่งพาอาศัยกัน โดยมีทรัพยากร, ความสามารถ และเทคโนโลยีที่เสริมกัน รวมถึงการมีส่วนร่วมของผู้มีบทบาทหลักเพื่อร่วมกันสร้างคุณค่าของระบบนิเวศ รวมถึงขอบเขต และบทบาทของผู้มีส่วนร่วม, พลวัตของวิวัฒนาการ เพื่อพัฒนาความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ซับซ้อนและเชื่อมโยงกัน

Read More

The state of social enterprise in South East Asia

80

นำเสนอภาพรวมที่ครอบคลุมเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของกิจการเพื่อสังคมใน 7 ประเทศ โดยมุ่งแก้ไขปัญหาทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่หลากหลายครอบคลุมหลากหลายภาคส่วนของเศรษฐกิจ บทความเน้นย้ำถึงบทบาทสำคัญของผู้หญิงและคนรุ่นใหม่ในการนำกิจการเหล่านี้ ทั้งยังศึกษากรอบนโยบาย, ระบบนิเวศสนับสนุน และความต้องการทางการเงินของกิจการเพื่อสังคมในแต่ละประเทศ, การเติบโต, ความท้าทาย และศักยภาพในการพัฒนาในอนาคต โดยพบว่ากิจการเพื่อสังคมมีบทบาทสำคัญในการเติมเต็มช่องว่างในการบริการจัดการเชิงสาธารณะของทางรัฐ และเป็นทางเลือกที่มีต้นทุนไม่สูงมากสำหรับภาคเอกชน นอกจากนี้ยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยเพื่อส่งเสริมการเติบโตของกิจการเพื่อสังคมในภูมิภาคนี้

Read More

The Contribution of Micro-enterprises to Economic Recovery and Poverty Alleviation in East Asia

79

วิเคราะห์ศักยภาพของวิสาหกิจขนาดย่อม และการเงินระดับจุลภาคในการพัฒนาภูมิภาค, การสร้างรายได้, การจ้างงาน, ความหลากหลาย, ข้อจำกัดในการเติบโตฟื้นฟูเศรษฐกิจ และบรรเทาความยากจนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกหลังวิกฤตปี 2540 โดยอภิปรายแนวทางการส่งเสริมทั้งแบบยังชีพ และแบบมุ่งเน้นการเติบโต และพูดถึงการยอมรับที่เพิ่มขึ้นว่าการเงินระดับจุลภาคมีส่วนช่วยในการลดความยากจนและการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ บทความยังอภิปรายถึงความท้าทายที่วิสาหกิจขนาดย่อมต้องเผชิญ เช่น การเข้าถึงแหล่งเงินทุน, เทคโนโลยี และการตลาด รวมถึงนโยบายและกลยุทธ์ที่จำเป็นในการสนับสนุนการพัฒนาของธุรกิจเหล่านี้ เพื่อเสริมสร้างบทบาทของพวกเขาในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและการลดความยากจนในเอเชียตะวันออก

Read More

Best Policy Practices in Small and MediumSized Enterprise Innovation and Technology Transfers for ASEAN and East Asia

77

ศึกษาแนวทางในการกำหนดนโยบายด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก โดยแบ่งนโยบายเป็นสามกลุ่ม ได้แก่ นโยบายด้านอุปทาน, อุปสงค์ และเชิงระบบ พร้อมอภิปรายข้อดีและข้อเสียของแต่ละกลุ่ม บทความได้ทำการสรุปบทเรียนจากกรณีศึกษาในไต้หวัน, สิงคโปร์, มาเลเซีย และไทย โดยเน้นบทเรียนสำคัญในการปรับนโยบายให้เหมาะกับความสามารถทางเทคโนโลยีของแต่ละธุรกิจ โดยยังรักษาความยืดหยุ่นในการดำเนินนโยบาย และการสนับสนุนจากรัฐบาลอย่างเพียงพอ นอกจากนี้ยังเน้นถึงความจำเป็นที่ผู้กำหนดนโยบายต้องเข้าใจในเรื่องของนวัตกรรมและระบบที่เกี่ยวข้อง โดยชี้ให้เห็นว่าการสนับสนุนเชิงนสัตกรรมทางการเงินที่ประสบความสำเร็จต้องมีนโยบายเสริมอื่นๆ ร่วมด้วย และเน้นย้ำบทบาทของปัจจัยเชิงสถาบันในการกำหนดทางเลือกและการดำเนินนโยบาย

Read More
bottom of page