ความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม
(Environmental Sustainability)
> Circular Economy: การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ลดปริมาณ และสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือใช้
> Eco-friendly product and service: การสร้างสรรค์สินค้าและบริการที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
บทความงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
Strategies for regenerative business
99
แนวคิดเรื่อง “regenerative business” โดยนักวิจัยเชื่อว่าแนวคิดดังกล่าวมีความสำคัญต่อการสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจ นักวิจัยให้เหตุผลว่าแนวคิดดังกล่าวสามารถช่วยลดของด้อยของการทำธุรกิจแบบเดิมซึ่งมักมองข้ามระบบนิเวศวิทยาสังคมนำไปสู่ความเสื่อมโทรมทางนิเวศวิทยา และความท้าทายทางสังคมได้ แนวคิดดังกล่าวเป็นการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมกับระบบนิเวศวิทยาสังคมทั้ง “การฟื้นฟู-รักษา-เสริมสร้าง” โดยอยู่บนพื้นฐานของหลักการสำคัญ 2 ประการ ได้แก่ ระบบที่ขึ้นกับระดับของความปรารถนา และแนวทางการจัดการการปรับเปลี่ยนเพื่อการฟื้นฟูแนวคิดนี้เป็นแนวคิดใหม่เพื่อสร้างพื้นฐานความยั่งยืนทางธุรกิจ ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจสามารถก้าวไปไกลกว่าเดิม และช่วยลดความเสียหายต่อระบบนิเวศวิทยาสังคม
Business research for sustainable development: How does sustainable business model research reflect doughnut economics?
97
ศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างต้นแบบ “ธุรกิจแบบยั่งยืน (SBM)” และทฤษฎี “เศรษฐศาสตร์โดนัท (DE)” เพื่อขยาย และบูรณาการองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาต้นแบบธุรกิจแบบยั่งยืนร่วมกับการนำหลักการของเศรษฐศาสตร์โดนัทไปใช้ในบริบทของธุรกิจ นักวิจัยเลือกใช้หลักการทั้ง 7 ของ DE ในการวิเคราะห์เพื่อสะท้อนต้นแบบธุรกิจจำนวน 23 ต้นแบบ เพื่อพัฒนากรอบแนวคิดโดยอิงพื้นฐานองค์ความรู้วิทยาศาสตร์เชิง cognitive โดยแบ่งย่อยการศึกษาออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1. การศึกษากรอบแนวคิดเพื่อช่วยเพิ่มความเข้าใจในทฤษฎีทั้งแนวคิด SBM และ DE 2. การศึกษาแนวทางเฉพาะในการศึกษาต้นแบบ SBM จำนวน 7 แบบ 3. ศึกษาศักยภาพในการสร้างแนวปฏิบัติเชิงนวัตกรรมของ SBM
The Inheritance of Local Wisdom Value as an Effort of Environmental Preservation of Telaga Mangunan
96
ศึกษาบทบาทของการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในฐานะเครื่องมือในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในบริบทของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และสิ่งแวดล้อมที่รวดเร็ว กรณีศึกษาพื้นที่เทลากา มังกูนัน ประเทศอินโดนีเซีย นักวิจัยเลือก “พิธีนยาดรัน” ซึ่งเป็นพิธีดั้งเดิมในพื้นที่เป็นกรณีศึกษา ใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพผ่านวิธีการถ่ายทอดแนวปฏิบัติดังกล่าวจากรุ่นสู่รุ่นเพื่อส่งเสริมการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม พวกเขาพบว่าแนวทางดังกล่าวถูกรักษา และส่งต่อผ่านการขัดเกลาทางสังคมทั้ง ครอบครัว, การมีส่วนร่วมของชุมชน และสื่อต่างๆ ประเพณีดังกล่าวยังสะท้อนคุณค่าของการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน, การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม, การแลกเปลี่ยนข้อมูล และการเคารพสิ่งแวดล้อมในเชิงการรักษาความรู้ทางนิเวศวิทยาท้องถิ่น การศึกษานี้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการบูรณาการความรู้ท้องถิ่นเข้ากับนโยบายการจัดการสิ่งแวดล้อมสมัยใหม่
Integrated business model for sustainability of small and medium-sized enterprises in the food industry : Creating value added through ecodesign
85
นำเสนอโมเดลธุรกิจแบบบูรณาการเพื่อความยั่งยืนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในภาคอุตสาหกรรมอาหาร โดยใช้แนวคิดการออกแบบเชิงนิเวศ (ecodesign) โดยรวมการออกแบบเชิงนิเวศทั้งในด้านอุตสาหกรรม และการปรับใช้ให้เข้ากับบริบท และเศรษฐกิจสังคมของกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งสะท้อนผ่านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR) และการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผ่าน การบูรณาการเครื่องมือด้านสิ่งแวดล้อม, สังคม และเศรษฐกิจ อาทิ การประเมินวงจรชีวิต, เมทริกซ์ MET และการติดฉลากสิ่งแวดล้อม นักวิจัยมองว่าแนวทางดังกล่าวมีส่วนช่วยให้สามารถปรับปรุงทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมและโครงสร้างต้นทุนได้พร้อมกัน นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพ, ฟังก์ชันการใช้งาน และความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ ทั้งยังมีส่วนช่วยในการสร้างมูลค่าเพิ่มในมิติที่หลากหลายให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบนอกจากนี้ ยังระบุแนวทางปฏิบัติสำหรับ SMEs ในการปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจและการผลิตเชิงนิเวศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรและฟังก์ชันของผลิตภัณฑ์ไปพร้อมกัน
Ecosystem management: Past achievements and future promises
83
ศึกษาวิวัฒนาการของการจัดการระบบนิเวศในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา โดยเน้นถึงมุมมองด้านความสำเร็จและศักยภาพในอนาคต ในการศึกษาได้ทำการวิเคราะห์การพัฒนาแนวคิด, ความท้าทายในการนำไปปฏิบัติ และตัวอย่างความสำเร็จในหลากหลายภาคส่วน รวมทั้งยังอธิบายว่าการจัดการระบบนิเวศมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างไร นอกจากนี้ บทความยังสำรวจแนวโน้มและโอกาสที่อาจเกิดขึ้นใหม่สำหรับการจัดการระบบนิเวศ รวมถึงการบูรณาการเทคโนโลยี และบทบาทในการจัดการกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมระดับโลก โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญในความพยายามด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ, การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม, การพัฒนาที่ยั่งยืน และการอนุรักษ์อย่างต่อเนื่อง
The role of social enterprise in regional development
49
บทบาทของธุรกิจเพื่อสังคมในการพัฒนาระดับภูมิภาค มีเป้าหมายในการสร้างธุรกิจที่ทำคำนึงถึงสังคมและ/หรือสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก พร้อมกับนั้นก็ยังสามารถการสร้างรายได้มากพอต่อการเติบโตทางธุรกิจด้วย บทความยังระบุถึงความท้าทายในการพัฒนา 5 ประการ และให้คำแนะนำเพื่อเอาชนะความท้าทายเหล่านี้ โดยมองว่ากิจการเพื่อสังคมมีศักยภาพที่จะส่งผลกระทบต่อปัจจัยต่างๆในการพัฒนาในระดับภูมิภาค เช่น การเพิ่มรายได้, ภาษีที่เพิ่มขึ้น, การพัฒนาพื้นที่, การปรับปรุงอาคาร, การลดการจ่ายสวัสดิการ, การขยายทรัพยากร, การเสริมสร้างทุนทางสังคม, การเสริมสร้างศักยภาพของชุมชน และการสร้างประชาธิปไตยในท้องถิ่น
Adoption of circular economy practices in small and medium-sized enterprises: Evidence from Europe
48
ศึกษาการนำหลักปฏิบัติของเศรษฐกิจหมุนเวียน (CE) มาใช้ในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ทั่วยุโรป โดยเน้นย้ำถึงกลยุทธ์ต่างๆ ที่องค์กรเหล่านี้นำมาใช้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากร, การลดของเสีย และการบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน การศึกษานี้ยังกล่าวถึงปัจจัย และอุปสรรคในการนำแนวคิด CE มาใช้จริง รวมถึงแรงกดดันด้านกฎระเบียบ, ความต้องการของตลาด และการสร้างสรรค์นวัตกรรม พร้อมทั้งนำเสนอกรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จและบทเรียนที่ได้รับจากประเทศต่างๆ ในยุโรป พร้อมสรุปคำแนะนำสำหรับผู้กำหนดนโยบายและผู้นำทางธุรกิจเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนในภาค SME
HOW SUSTAINABLE LOCAL BUSINESSES OPERATE?
47
ศึกษาผลกระทบของการส่งเสริม และปรับใช้โมเดลธุรกิจท้องถิ่นแบบยั่งยืนในโรมาเนีย โดยเลือกศึกษาในกลุ่มธุรกิจอาหาร และการสร้างที่อยู่อาศัยโดยใช้วัสดุจากธรรมชาติ เช่น ผนังอิฐดิบ พื้นไม้ก๊อก และกระเบื้องโมเสก เนื่องจากมองว่าทั้ง 2 กลุ่มมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มการบริโภคภายในท้องถิ่น และยังช่วยลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้ โดยมีเป้าหมายเพื่อแสดงให้เห็นว่าสามารถสร้างธุรกิจที่ยั่งยืน และสนับสนุนให้ชุมชนบริโภคผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร
Nothing to Waste: A Green Venture Business Model supporting local communities to Circular Economy pathways
46
การศึกษาโครงการร่วมทุนต้นแบบ Nothing-to-Waste (NoWaste21) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไร ในเมืองเทสซาโลนิกิตะวันตก ประเทศกรีซ โดยมีเป้าหมายในการสร้างความตระหนักรู้, ส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน และการนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนไปปฏิบัติจริงในธุรกิจท้องถิ่นจำนวน 24 แห่ง ผ่านการสื่อสารและการให้ความรู้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งโครงการ พวกเขาจัดตั้งพื้นที่สีเขียว 29 จุด สำหรับแยกขยะ 6 ประเภท ได้แก่ กระดาษ, ขวด PET, พลาสติกและโลหะ, กล่องกระดาษ Tetrapak, อุปกรณ์ไฟฟ้า, แบตเตอรี่ และน้ำมันปรุงอาหาร ซึ่งส่งผลให้สามารถรวบรวมวัสดุรีไซเคิลได้มากกว่า 6.5 ตัน
Innovation in business-community partnerships: Evaluating the impact of local enterprise and global investment models on poverty, bio-diversity and development
38
ศึกษาผลกระทบของต้นแบบความร่วมมือทางธุรกิจ และชุมชนเชิงนวัตกรรม จำนวน 2 แบบ ซึ่งมองว่าเป็นต้นแบบที่มีศักยภาพในการแก้ปัญหาความยากจน และการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ รูปแบบธุรกิจท้องถิ่น ซึ่งใช้ทรัพยากรท้องถิ่นเป็นหลัก และรูปแบบการลงทุนระดับโลก ที่เกี่ยวข้องกับองค์กรและสถาบันทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับโลก
Local Enterprise Partnerships and the low-carbon economy: Front runners, uncertainty and divergence
37
ศึกษาบทบาทการมีส่วนร่วมของแต่ละภาคส่วนของการประกอบการธุรกิจท้องถิ่นของสหราชอาณาจักร ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ในการนำแนวคิด “เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ” มาประยุกต์ใช้อย่างเป็นรูปธรรมในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งพบว่าแม้ภาคเอกชนจะมีบทบาทสำคัญหลักในฐานะผู้นำแนวคิดไปใช้จริง แต่ภาครัฐเองก็ควรให้ความสำคัญในฐานะผู้ออกข้อกำหนด และนโยบายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหากขาดความชัดเจนในเรื่องดังกล่าวทำให้การนำแนวคิดมาปรับใช้ไม่เกดิผลลัพธ์อย่างที่ควรจะเป็น
The New Field of Sustainable Entrepreneurship: Studying Entrepreneurial Action Linking “What is to be Sustained” with “What is to be Developed”
23
แนวคิดของการเป็นผู้ประกอบการที่ยั่งยืน ซึ่งนิยามว่าเป็นการดำเนินการของผู้ประกอบการที่มุ่งเน้นการผสมผสานการรักษาสิ่งแวดล้อม, การให้ความสนับสนุนด้านคุณภาพความเป็นอยู่ และความยั่งยืนทางสังคมไปพร้อมกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ โดยการหาคำตอบให้กับคำถามที่ว่า “อะไรคือสิ่งที่จำเป็นต่อความยั่งยืน?” และ “อะไรคือสิ่งที่(ผู้ประกอบการ)จำเป็นต้องพัฒนา?” เพื่อปรับแนวทางการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับเป้าหมายด้านความยั่งยืน